เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading
Skill)
การ อ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading
aloud) และ
การอ่านในใจ (Silent Reading ) การ
อ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง
(Accuracy) และความคล่องแคล่ว
( Fluency) ในการออกเสียง
ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่ง
เป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่
การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษา
อังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถ
เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ
ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนเพื่อ
ให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง
การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ
โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching ( BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค /
นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน
( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค
ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading) คือ
เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป
เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number
One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย
1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป
หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ
เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน
อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ
อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน
อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้
อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ
เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว( Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy คือ
การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress
/ intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง ( Pronunciation)
โดยอาจนำเทคนิค
Speed Reading มาใช้ในการฝึก
และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ
จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy)
และ
คล่องแคล่ว( Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน
มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
กิจกรรมระหว่างการอ่าน
หรือ ขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
1)
กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน
( Pre-Reading)
การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ
ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน
โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้าง
ความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู
กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน
โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน
แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ
อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์เช่น
ขีด เส้นใต้
หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด
เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน
และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ
ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฎในสารที่จะได้อ่าน
โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น
กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้
ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น
การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย
เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา
กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ
หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ
ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (
Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ
ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ
ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple
Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด
( True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ
เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น ( Opinion)
Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic
Sentence) หรือ
สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)
หรือ ย่อเรื่อง
(Summary) หรือ
หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ
กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่ม
ขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน
ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว
โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน
เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์
หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อ
เรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง
อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น
หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
No comments:
Post a Comment