Curriculum1



Curriculum and Instruction in English (10506331) 

หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ 1

B-SLIM

If you know B-SLIM, you will be able to clearly see what you need to do in the next lesson. The stages of B-SLIM, help to provide most of the things that language teachers should know and think about, so you will be sure to start an action to move on to the next stage. Think about the names of the parts of BSLIM just like the names of railway stations.

If you understand the elements of the parts, you can clearly explain, "why you teach like that" to your co-workers, your students, their parents and yourselves. It is just like introducing your town to tourists on the street.


B-SLIM is a planning model for second language teaching in classroom settings. Dr. Olenka Bilash, a professor at University of Alberta, has presented a cycle of planning, teaching and evaluating for teachers to consider in a language education program. BSLIM consists of five parts of understanding instructions for a lesson.

As we have seen in several of the case studies, many teachers are unaware of how to provide their students with the structure and support they need in order to be successful in their learning. Structure and support go hand in hand and are therefore referred to simultaneously. These terms refer to what the teacher must consider for the learners to successfully complete the task.

Planning and preparation is the first element of B-SLIM. This stage shows not only HOW and WHAT TO preparebut also perspectives of understanding language learners.

The "Giving it " stage begins when the teacher enters the classroom. It consists of ways to make what is taught (vocabulary, structure, culture. . . ) comprehensible . In this stage, this model shows how to put into practice research from cognitive psychology, such as Miller´s magical Number of 7 +/- 2, Gardner´s Multiple Intelligences, cognitive capacity and cognitive load and others.As a stage of practice to be able to use the target language, "Intake" comes after "Giving it" "Intake" has two categories of types of activities. If the activity requires less high level thinking in learners´ mind, it is called "Getting it" activity, for example repetitions, mimic and drills.
The other type of activities is called "Using it" activity. It triggers a higher level of thinking, in other words creativity of language use.The next part of B-slim is named "Proving it". In this stage, the activity becomes more authentic and the learners show spontaneous language use in a meaningful context or a project.
Although found at the end of the continuum "Assessing it" means that teachers assess both the progress of the learners and the effect of their instruction throughout every class. Assessing student interest, progress and competency makes it possible to adjust and improve the instruction that will take place later, so B-slim becomes a cycle of instruction of a language. Assessing it appears not only at the end of a set of a language course but also during the four stages that have been shown above.


Source : http://www2.education.ualberta.ca/staff/olenka.bilash/Best%20of%20Bilash/home1.html











B - Slim Model

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

วิธีสอนแบบ  B-SLIM เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสารโดยอาศัยหลักการและแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของพีอาเจต์(Piaget)ทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของวิก็อทสกี้ (Vygotsky)  และทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์ (Discovery Aproach) ซึ่งOlenka  Bilashเป็นผู้ออกแบบวิธีการสอน(B-Slim Overview.)จุดมุ่งหมายของวิธีสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร(Communicative Language Teaching)มุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน
             สุมิตรา  อังวัฒนกุล  (2540  :  17–21)  กล่าวถึงการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารว่าการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นแนวคิดที่เกิดจากความตระหนักถึงความจริงที่ว่าความรู้ความสามารถทางด้านศัพท์  ไวยากรณ์  และโครงสร้างทางภาษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการสื่อสารกับผู้อื่น  การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการใช้ภาษาระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร  ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้จริง  (Actual  Communication) 




















ขั้นตอนการสอนแบบ B-SLIM































            ธูปทอง  กว้างสวาสดิ์  (2544  :  24-30)  ได้สรุปไว้ว่ากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวสื่อสารมีกิจกรรมที่หลากหลาย  แต่กิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ  คือการสอนภาษาที่สองของ  บิลาช Bilash’sSecond Language Instructional Model  หรือ   B-SLIM Model. ประกอบไปด้วย 5  ส่วน ดังนี้

           1.  ขั้นวางแผนและการเตรียม  (Planning and Preparation) ขั้นนี้ครูจะเลือกกิจกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียนนอกจากนั้นครูต้องจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ ที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สื่อต้องน่าสนใจและสอดคล้องกับเนื้อหา  และควรเป็นสื่อที่เป็นของจริง
               2.  ขั้นทำความเข้าใจตัวป้อนหรือข้อความรู้ใหม่  (Comprehensible Input) ขั้นนี้ครูต้องอธิบายความรู้ใหม่  ข้อมูลหรือตัวป้อนใหม่  โดยตั้งอยู่บนฐานความรู้เดิมของผู้เรียน  ครูสามารถให้ตัวป้อนเหล่านี้ ในการที่นักเรียนจะเข้าใจหรือเกิดการเรียนรู้  โดยการขยายความ  อธิบายเพิ่มเติม บิลาช  ได้จำแนกตัวป้อนด้านความรู้ออกเป็น      9  ชนิดดังนี้
                        2.1  การรับรู้ภาษา  (Language Awareness)   บิลาชและทูลาซิวิคซ์   กล่าวถึงการรับรู้ทางภาษาว่า การรับรู้ภาษาเกี่ยวข้องกับเรื่องทักษะทางภาษา ทัศนคติ การเรียนรู้และการใช้ภาษา สิ่งเหล่านี้ผู้สอนต้องบูรณาการเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน
                    2.2  การออกเสียง  (Pronunciation)   เป็นส่วนสำคัญของการพูด  และเป็นทักษะที่ยากสำหรับผู้เรียนภาษาต่างประเทศก่อนที่ผู้เรียนจะสามารถพูดได้เป็นประโยค  เขาต้องออกเสียงคำได้ก่อน  การออกเสียงควรเน้นความคล่องและจังหวะ  การขึ้นเสียงสูงต่ำ ตามบริบทและสถานการณ์
                    2.3  ศัพท์  (Vocabulary)   สามารถแยกออกเป็น ชนิด  คือ Active Vocabulary หมายถึง  คำศัพท์ที่ผู้เรียนเข้าใจความหมายออกเสียงได้ถูกต้องและใช้การพูดและเขียนได้ Passive  Vocabulary  หมายถึง  คำศัพท์ที่ผู้เรียนรู้ความหมายและเข้าใจเมื่อพบคำนั้น ในรูปประโยคหรือข้อความ  แต่ไม่สามารถใช้พูดและเขียนได้  คำศัพท์ในการสอนแต่ละครั้งต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป และต้องสอนจากศัพท์ที่ใกล้ตัว  หรือคำศัพท์เพื่อการดำรงชีวิต  (Survival Vocabulary)   หมายถึง  ศัพท์ที่ผู้เรียนใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน  เช่น ศัพท์เกี่ยวกับ  สัตว์  คำถาม  คำทักทาย
                    2.4  ไวยากรณ์  (Grammar)  การสอนหลักไวยากรณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะยึดหลักการสอนตามแนวสื่อสาร  
                    2.5  สถานการณ์และความคล่องแคล่ว  (Situation/Fluency)   การเรียนรู้ภาษาที่สอง  (Second Language-SL)  และภาษาต่างประเทศ  (Foreign Language FL)   หมายถึง  การพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาได้หลากหลายตามบริบทและสถานการณ์ได้คล่องแคล่ว
                    2 .6  วัฒนธรรม  (Culture)   วัฒนธรรมสามารถแบ่งเป็น  2   ส่วน  คือ  ซีใหญ่  (Big “C”)  หมายถึง  ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะดนตรี ซีเล็ก  (Small c)   หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะนิสัย  การแต่งกาย  อาหาร    การใช้เวลาว่าง การเรียนภาษาต่างประเทศ คือการเรียนวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถแยกภาษาออกจากวัฒนธรรมได้ การสอนวัฒนธรรมครูควรสอนในรูปของกระบวนการพบปะสังสรรค์มากกว่าที่จะบอกให้รู้ข้อเท็จจริงทางวัฒนธรรม ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
                          2.7  กลวิธีการเรียนรู้  (Learning  Strategy) กลวิธีการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำพฤติกรรม ขั้นตอน และเทคนิคเฉพาะในการเรียนภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ  เช่น  การหาผู้ช่วยในการฝึกการสนทนาเพื่อพัฒนาทักษะพูด  การใช้เทคนิคปรับปรุงปัญหาในการเรียนภาษาของตัวผู้เรียนเอง  ซึ่งมีวิธีการเรียนที่ต่างกัน กลวิธีการเรียนมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้ภาษาในการปฏิสัมพันธ์  การจะเลือกเทคนิคที่มีความคล้ายคลึงกัน  และเลือกซ้ำบ่อยครั้งและจะใช้ภาษาในการสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นครูจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงกลวิธีที่หลากหลายและประสบผลสำเร็จ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
                          2.8  ทัศนคติ  (Attitude) เป็นองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงความเชื่อว่าผู้เรียนมีทัศนคติที่แตกต่างต่อสิ่งต่อไปนี้  คือ  ภาษาเป้าหมาย  (Target Language)   ผู้พูดภาษาเป้าหมาย  (Target Language Speaker)  ค่านิยมสังคมทางการเรียนภาษาเป้าหมาย  ทัศนคติเหล่านี้มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนภาษาที่สอง   การมีทัศนคติด้านบวกต่อภาษาเป้าหมาย และวัฒนธรรมของภาษานั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียน  เพราะทัศนคติบวกย่อมเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนอยากปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา นอกจากนั้นทัศนคติด้านบวกยังส่งผลให้ผู้เรียนเลือกใช้กลวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย   อันจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ด้านการฟัง  อ่าน  และเขียนได้อย่างรวดเร็ว  จะเห็นได้ว่าทัศนคติสำคัญมากในการเรียนภาษาที่สอง  ครูควรจำไว้เสมอว่าการแก้ไขทัศนคตินั้น ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ต้องใช้เวลาและเทคนิคที่หลากหลาย
                   2.9  ทักษะ (Skill) หมายถึง ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน และยังรวมไปถึงทักษะอื่นๆ  เช่น ทักษะการแก้ปัญหา   การค้นคว้าวิจัย  การหาความรู้ด้วยตนเอง  การเรียนร่วมกับผู้อื่น
                        2.9.1  ทักษะการฟัง  (Listening)  ทักษะการฟังถือว่าเป็นทักษะแรกในการสื่อสาร  ถ้าฟังไม่รู้เรื่องก็จะไม่สามารถพูดโต้ตอบได้  ดังนั้นครูจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง  นูนัน และแลมป์ แนะนำว่า  สิ่งสำคัญที่ครูจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเตรียมกิจกรรม คือ การสอนทักษะฟัง  ควรคำนึงถึงสถานการณ์หรือบริบท  กล่าวคือ  เลือกเนื้อหา  ครูควรออกแบบกิจกรรมฝึกการฟังที่หลากหลายและน่าสนใจ  เช่น  ครูให้นักเรียนฟังเทปแล้ววาดภาพ  เป็นต้น
                       2.9.2  ทักษะการพูด  (Speaking) ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะพูดครูต้องดูว่ากิจกรรมนั้นต้องเริ่มจากง่ายไปหายาก  โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ครูควบคุมให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งมีรูปแบบและตัวอย่างให้นักเรียน  กิจกรรมเหล่านี้  เรียกว่า  กิจกรรมภายใต้การควบคุม (Conversation)  เช่น ในช่วงIntake-Using It  ก่อนที่ครูจะให้นักเรียนฝึกสนทนาครูต้องมีแบบการสนทนา  (Conversation Matrix)  หรือ  Dialogue        ให้นักเรียนหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  เช่น  บทบาทสมมุติ  การเลียนแบบการอภิปราย ในช่วง  Intake-Using It  การออกแบบกิจกรรมจากง่ายไปหายากเป็นการลดความวิตกกังวล (Anxiety)  ของผู้เรียน  
                      2.9.3  ทักษะการอ่าน  (Reading) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการอ่าน  ครูต้องจัดกิจกรรมก่อนการอ่าน  (Preceding  Activity)   เช่นการพูดคุยหรืออภิปราย  ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะอ่าน  หลังจากนั้นเป็นการแจ้งจุดประสงค์การอ่านว่า  หลังจากการอ่านแล้วนักเรียนต้องได้อะไรบ้าง  เช่น   ตอบคำถาม  อภิปรายกับเรื่องที่อ่าน  สิ่งทีสำคัญที่สุดคือ  ครูต้องแนะนำคำศัพท์หรือโครงสร้างใหม่ก่อนที่จะให้นักเรียนทำกิจกรรม  กิจกรรมสำหรับพัฒนาทักษะการอ่านจัดได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยว  คู่  กลุ่มทั้งชั้น  ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาที่อ่าน
                     2.9.4  ทักษะการเขียน  (Writing) บิลาชย้ำว่า ทักษะการเขียนเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง การเรียนรู้การเขียนไม่ใช่ที่เกิดได้โดยธรรมชาติ  เหมือนการพูดสิ่งที่พูดบางครั้งผู้เรียนไม่สามารถเขียนได้  บิลาชได้ออกแบบการสอนเขียนเรียกว่า  แบบ   (Form)   เทคนิคแบบ”  นี้  บิลาชออกแบบจากง่ายไปหายากเพื่อลดสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้  (Affective  Filter)   ซึ่งได้แก่  เจตคติ  แรงจูงใจ  ความวิตกกังวล  
          3.  ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึกทักษะ  (Intake  Activity)  ขั้นนี้  หมายถึง  ช่วงเวลาที่ผู้เรียนรู้ เนื้อหาหรือตัวป้อน  (Input)  ผู้สอนพึงระลึกเสมอว่า  ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจข้อมูล  สาร หรือตัวป้อนทั้งหมดที่ผู้สอนป้อนในขั้นแรก ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสทำสองประการคือ  ประการแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจตัวป้อน  เรียกว่า  กิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Intake - Getting)กิจกรรมเพื่อความเข้าใจนี้จะใช้เวลาจนกว่าครูจะแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ  Input  ครูอาจจะออกแบบ  4-5 กิจกรรม  แล้วแต่ความยากง่ายของตัวป้อน  กิจกรรมเพื่อความเข้าใจเป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการปฏิบัติมีตัวอย่างแบบแผน  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนลดความกังวลในการปฏิบัติ  ประการที่สอง  หลังจากที่นักเรียนเข้าใจตัวป้อนแล้ว ครูต้องออกแบบกิจกรรมที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึก  เรียกว่า  กิจกรรมฝึกใช้ภาษา  (Intake – Using  It)  กิจกรรมฝึกใช้ภาษาเป็นกิจกรรมเพื่อการสื่อสารและเป็นธรรมชาติมากกว่ากิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Getting  It  Activity)
         4.  ขั้นผล  (Output)  กิจกรรมขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษานอกห้องเรียนทั้งทักษะ  ฟัง  พูด  อ่านและเขียน  ลักษณะกิจกรรมขั้นนี้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์และส่วนมากเป็นกิจกรรมเดี่ยว (Individual  Activity)  เช่น โครงงาน  การเขียนไดอารี่  เรียงความ  เรื่องสั้น  เป็นต้น
         5.  ขั้นประเมินผล  (Evaluation)  ขั้นการสอนนี้ครูรวบรวมข้อมูลต่างๆจากการสังเกตหรือซักถามผู้เรียนในขั้นต่างๆเพื่อต้องการทราบปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาในการสอนครั้งต่อไป  ขั้นนี้เป็นขั้นการประเมินผลการเรียนของนักเรียน ครูอาจใช้การประเมินทักษะตามสภาพจริง (Authentic  Assessment)  และการสอบเก็บคะแนนปลายภาคเรียน

Thanks for: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/332176 









B-Slim Model:











PPP Model (Presentation, Practice and Production)

In the ESL classroom, a common way to introduce a new word to the classroom is the PPP technique. 


The three stages of a PPP lesson
Firstly, the teacher presents the new word, an event which involves the presentation of pronunciation and spelling, all in context. Next the teacher allows the students to practice the new word in a controlled setting, making sure the student has understood it properly. Third is the production stage, where there is less-controlled practice and an informal assessment of learning whereby the students get chance to use the new word in an original way, to relate it to their knowledge and experiences. These three stages help the student to consolidate the new word in their mental vocabulary bank. This method of presentation, practice and production is an approach that follows a definite sequence:
The teacher presents the new vocabulary and explains the form of the language in a meaningful context. The students practise this new vocabulary through controlled activities such as worksheets or question and answer activities. The students use or produce what they have learned in a communicative activity such as a role-play, communication game, or question and answer session.
Teaching using the PPP technique
Each stage of the Presentation, Practice and Production lesson must be planned well to be effective. However, PPP is a highly flexible approach to teaching and there are many different activities a teacher can employ for each stage.
Presentation can include mime, drawing, audio. In fact it is a good idea to try to engage with different sense of the students to get across the meaning of the new word. It is also important to make sure that students have understood the new word before getting them to move on to practise it. It is often fun and highly effective for students to play games to practise their new vocabulary and to produce it.Thanks for:  http://www.myenglishlanguage.com/ppp-technique.html
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวธรรมชาติ (PPP)
รูปแบบการสอนภาษาเพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ เป็นการบูรณาการวิธีการสอนต่าง ๆวิธีสอนแบบ 3หรือ 3 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นนำ เสนอ (Presentation)
- ขั้นฝึก (Practice)
- ขั้นนำ ไปใช้ (Production)
1. ครูนำเสนอบทเรียนในขั้นนำ เสนอ (P1 = Presentation) โดยนำ เสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร (Whole Language) ไม่แยกสอนเป็นคำ ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น
2. ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2 = Practice) อย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ (Whole Group) ก่อน เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา ฝึกกลุ่มย่อยโดยใช้การฝึกลูกโซ่ (Chain Drill) เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้สื่อสารทุกคน ฝึกคู่ (Pair Work) เปลี่ยนกันถาม-ตอบ เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ แล้วจึงให้นักเรียนฝึกเดี่ยว (Individual) โดยฝึกพูดกับครูทีละคน การฝึกเดี๋ยวนี้ครูจะเลือกนักเรียนเพียง 2-3 คน เพื่อทำ เป็นตัวอย่างในแต่ละครั้ง กิจกรรมขั้นนี้ใช้เวลา แต่นักเรียนจะได้ปฏิบัติจริง ครูเพียงแต่คอยกำ กับดูแลให้การฝึกดำ เนินไปอย่างมีความหมายและสนุก
3. กิจกรรมขั้นนำ เสนอผลงาน P3 (Production) เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลง หรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1 และ 2 อาจให้ทำงานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่จากความคิดของนักเรียนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนได้เรียนเรื่องเวลา กำ หนดเวลา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเวลาแล้วก็สามารถคิดตารางเวลาเพื่อกำ หนดการเดินรถโดยสารของตนเองโดยสมมุติได้ในการจัดกิจกรรมขั้นฝึกและนำ เสนอผลงาน สามารถนำกิจกรรมเสริมทางภาษาที่ครูมีความถนัด เช่น เกมทางภาษา เพลงหรือกิจกรรมเกี่ยวกับจังหวะ การวาดภาพ ฯลฯ มาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมความคิด และช่วยให้การจัดการเรียนการสอนภาษาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยสอนทักษะฟัง-พูด-อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆกัน ด้วยวิธีบูรณาการทักษะที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
สื่อการเรียนการสอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวธรรมชาติ (PPP)
      การจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติจะใช้สื่อตามสภาพจริง ควบคู่กับสื่อที่ผลิตขึ้นมา สื่อดังกล่าว ได้แก่
          1. ของจริง (Reality)
          2. ภาพที่ผลิตขึ้นเองและภาพจากหนังสือพิมพ์ (Pictures)
         3. วรรณคดีสำ หรับอ่านให้นักเรียนฟัง (Literature)
         4. ท่าทาง (Gesture)
         5. วิธีการและกิจกรรม (Activities)
         6. เพลงและเกม (Songs and Games)
        7. บทบาทสมมุติ (Role Play)
ตัวอย่างวิดีโอแผนPPP



CBI (Content-based instruction )

In recent years content-based instruction has become increasingly popular as a means of developing linguistic ability. It has strong connections to project work, task-based learning and a holistic approach to language instruction and has become particularly popular within the state school secondary (11 - 16 years old) education sector.
What is content-based instruction?

The focus of a CBI lesson is on the topic or subject matter. During the lesson students are focused on learning about something. This could be anything that interests them from a serious science subject to their favourite pop star or even a topical news story or film. They learn about this subject using the language they are trying to learn, rather than their native language, as a tool for developing knowledge and so they develop their linguistic ability in the target language. This is thought to be a more natural way of developing language ability and one that corresponds more to the way we originally learn our first language.
What does a content-based instruction lesson look like?

There are many ways to approach creating a CBI lesson. This is one possible way.
- Preparation
Choose a subject of interest to students.
Find three or four suitable sources that deal with different aspects of the subject. These could be websites, reference books, audio or video of lectures or even real people.
- During the lesson
Divide the class into small groups and assign each group a small research task and a source of information to use to help them fulfil the task.
Then once they have done their research they form new groups with students that used other information sources and share and compare their information.
There should then be some product as the end result of this sharing of information which could take the form of a group report or presentation of some kind.
What are the advantages of content-based instruction?
It can make learning a language more interesting and motivating. Students can use the language to fulfil a real purpose, which can make students both more independent and confident.
Students can also develop a much wider knowledge of the world through CBI which can feed back into improving and supporting their general educational needs.
CBI is very popular among EAP (English for Academic Purposes) teachers as it helps students to develop valuable study skills such as note taking, summarising and extracting key information from texts.
Taking information from different sources, re-evaluating and restructuring that information can help students to develop very valuable thinking skills that can then be transferred to other subjects.
The inclusion of a group work element within the framework given above can also help students to develop their collaborative skills, which can have great social value.
Source: http://www.teachingenglish.org.uk/articles/content-based-instruction







CBI Model


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ CBI
          การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนนรู้ภาษา (Content - Based Instruction : CBI)
การเรียนภาษาต่างประเทศจะได้ผลมากที่สุดถ้าครูสอนให้ผู้เรียนใช้ภาษาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ม่งุให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ จะจัดการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง ครูสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่สอนทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในระดับพื้นฐาน (Basic Interpersonal Communication Skills) ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหน้าที่ (Functions) ในสถานการณ์ซึ่งครูจำลองให้เหมือนชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่นการซื้อของ การถามหรือการบอกทิศทาง การแนะนำตัวเอง เป็นต้น การสอนลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสื่อสารได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจำนวนมากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ไม่ว่าจะศึกษาต่อในสาขาวิชาใดก็ตามผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English) เพื่อศึกษาหาความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการ การสอนภาษาโดยเน้นเพียงการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงไม่สามารถเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ต่อไป
            ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนภาษา ได้ศึกษาเปรียบเทียบการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สรุปว่า ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในระดับพื้นฐานได้ หลังจากการเรียนในระยะเวลา 2 ปีแต่ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาเชิงวิชาการได้ (Grabe และ Stoller, 1997, Cummins, 19831989) ซึ่งถ้าผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะภาษาเชิงวิชาการด้านพุทธิพิสัย หรือ Cognitive Academic Language Proficiency (CALP) จะต้องใช้เวลาเรียนถึง 7 ปี (Cummins 19831989) นอกจากนี้Cummins ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนย่อมจะมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงควรเริ่มสอนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยเน้นวิธีการสอนที่ใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาในระดับมัธยมศึกษา
            Brinton, Snow และ Wesche (1989) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based Instruction (CBI) ว่าเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหาพร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครูไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989) แนวการสอนแบบนี้ ครูจะประสานทักษะทั้งสี่ให้สัมพันธ์กับหัวเรื่อง (Topic) ที่กำหนดในการเลือกหัวเรื่องครูจะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนมีทักษะและกลวิธีการเรียน (Learning Strategies) ที่จำเป็นเพื่อที่จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ การสอนภาษาแนวนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการฝึกกลวิธีการเรียนภาษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของภาษาและสามารถนำกลวิธีนี้ไปใช้ได้ตลอด ส่วนเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ครูสามารถปรับแต่งให้มีความหลากหลายมากขึ้น                             กิจกรรมการเรียนการสอนในแนวนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านการฝึกทักษะทางภาษา กิจกรรมเป็นแบบทักษะสัมพันธ์ที่สมจริง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนได้ฟังหรืออ่านบทความที่ได้จากสื่อจริง (Authentic Material) แล้วผู้เรียนไม่เพียงแต่ทำความเข้าใจข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องตีความและประเมินข้อมูลนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะสามารถพูดหรือเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะได้ฝึกทั้งทักษะทางภาษา (Language Skills) และทักษะการเรียน (Study Skills) ซึ่งจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในสถานการณ์จริงในอนาคต
           แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ CBI  มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)
           นอกจากนี้ยังเน้นหลักสำคัญว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี ถ้ามีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง และผู้เรียนจะใช้ภาษามากขึ้นถ้ามีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องนำเนื้อหาที่เป็นจริงและสถานการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยผู้เรียนสามารถใช้พื้นความรู้เดิมของตนในภาษาไทยมาโยงกับเนื้อหาของวิชาในภาษาอังกฤษ และที่สำคัญที่สุด คือ แนวการสอนแนวนี้ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาที่เรียน และใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นการเรียนการสอนวิธีนี้จึงเหมาะสมกับการสอนภาษาในระดับประถมศึกษา
sourcer: http://wilawun544.blogspot.com/2011/04/curriculum-and-instruction-in-english_25.html










Computer-assisted language learning (CALL)
       Computer-assisted language learning (CALL) is a form of computer-based assisted learning which carries two important features: bidirectional learning and individualized learning. It is not a method. CALL materials are tools for learning. The focus of CALL is learning, and not teaching. CALL materials are used in teaching to facilitate the language learning process. It is a student-centered accelerated learning material, which promotes self-paced accelerated learning.
Advantages of CALL
Motivation: using a variety of multimedia components in one program or course has been shown to increase student interest and motivation. One quantifiable benefit to increased motivation is that students tend to spend more time on tasks when on the computer. More time is frequently cited as a factor in achievement
Adapting learning to the student: Students tend to prefer exercises where they have control over content, such as branching stories, adventures, puzzles or logic problems. With these, the computer has the role of providing attractive context for the use of language rather than directly providing the language the student needs.
Authenticity: “Authenticity” in language learning means the opportunity to interact in one or more of the four skills (reading, writing, listening, speaking) by using or producing texts meant for an audience in the target language, not the classroom.
Critical thinking skills: Use of computer technology in classrooms is generally reported to improve self-concept and mastery of basic skills, more student-centered learning and engagement in the learning process, more active processing resulting in higher-order thinking skills and better recall, gain confidence in directing their own learning.

Computer-Based Foreign Language Programs

























































































































































For many years, basic drill-and-practice software programs dominated the market in computer-assisted language learning (CALL). These programs focused on vocabulary or discrete grammar points. A vast array of drill-and-practice programs are still available; in addition, however, an increasing number of innovative and interactive programs are being developed. Simulation programs, while reinforcing grammar points, present students with real-life situations in which they learn about the culture of a country and the protocol for various situations. For example, the Ticket series by Bluelion Software and Recuerdos de Madrid from D.C. Heath are simulations that provide country-specific situations in a task-based format. PC Globe and encyclopedia-type programs are information programs that allow students to conduct research in the target language. Games such as the foreign language versions of Where in the World Is Carmen Sandiego? by Brøderbund Software or Trivial Pursuit from Gessler publishers provide an entertaining environment for students to learn culture and the target language through problem-solving and competition. Writing assistants, like Salsa and Système-D (Davis, 1992; Garrett, 1991) aid students in writing compositions in the target language by providing help in grammar, style, and verb conjugation and use (Willetts, in press).




























Content and Language Integrated Learning (CLIL)

What is CLIL? CLIL aims to introduce students to new ideas and concepts in traditional curriculum subjects (often the humanities), using the foreign language as the medium of communication - in other words, to enhance the pupils' learning experience by exploiting the synergies between the two subjects. This is often particularly rewarding where there is a direct overlap between the foreign language and the content subject — eg Vichy France, Nazi Germany, the Spanish Civil War.
How does the CLIL approach benefit pupils?
Although it may take a while for pupils to acclimatise to the challenges of CLIL, once they are familiar with the new way of working, demonstrably increased motivation and focus make it possible (and likely) that they will progress at faster-than-usual rates in the content subject, providing that the principles of CLIL teaching are borne in mind during planning and delivery. CLIL aims to improve performance in both the content subject and the foreign language. Research indicates there should be no detrimental effects for the CLIL pupils (and often progress is demonstrably better).
Other advantages include:
  • stronger links with the citizenship curriculum (particularly through the use of authentic materials, which offer an alternative perspective on a variety of issues)
  • increased student awareness of the value of transferable skills and
    knowledge
  • greater pupil confidence.
What are the practical implications of introducing CLIL into the school curriculum?
The content subject should always be the primary focus of any materials used in the CLIL classroom. CLIL should not be used as an opportunity to use texts as glorified vocabulary lists, or to revise concepts already studied in the mother tongue. However, it is impossible to transfer existing content subject lesson plans across without modifying these to take into account pupils' ability in the target language, and therefore the planning process is vital. It is likely that, especially to begin with, lessons will need to be challenging cognitively, with comparatively light linguistic demands. Schools need to design materials to suit the needs of their learners, and to enable them to develop until they are working at high levels of cognitive and linguistic challenge.
What is the best approach to CLIL teaching?
The diversity of CLIL activity in UK schools is striking. It is not possible to generalise to any extent about the subjects chosen, the type of school pioneering such approaches, nor the ability of the learners chosen to participate. The predominant language of the projects is French, although a number of projects are operating in German or Spanish. It appears, then, that no approach to CLIL can be set in stone. One of the purposes of the Content and Language Integration Project is to compare the outcomes of different approaches in a variety of different schools.
What about staffing?
Although availability of CLIL-trained teachers is limited, preliminary research carried out by CILT indicates that schools have adopted a wide variety of different approaches to staffing, from non-native speaker linguists with no specialist content subject knowledge, to native speaker subject content specialists, and every possible permutation in between. CILT's evidence suggests that CLIL teaching is frequently delivered through a combination of solo and team-teaching, often supplemented by collaboration between departments in non-contact time.
How do schools tackle timetabling issues?
CILT research revealed a range of different approaches to timetabling CLIL, from isolated lessons over the school year and 'bilingual days', to modules and even occasionally a whole year's commitment. Many schools are starting to combine such work with class visits and/or partnerships with link schools abroad. Some schools choose to launch fast-track GCSE foreign language courses in Years 8, 9 and 10, after an initial diagnostic period. These run alongside lessons where the foreign language learning is integrated with another curriculum subject. 
What about national accreditation for courses and modules taught in this way?
There is currently no formal accreditation for bilingual work in the UK. This in part explains the preponderance of KS3 initiatives in the case studies that CILT is monitoring.








การสอนแบบบูรณาการ 

(Content and Language Integrated Learning : CLIL)










ผลการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ    ถ้าสามารถดำเนินได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ควรจะมีลักษณะโดยรวมดังต่อไปนี้ (ธำรง  บัวศรี : 2532 )
         1.  เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้  เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ  รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ  การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม  อาทิ การบอกเล่า  การบรรยายและการท่องจำ  อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้  ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น  อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง  ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร  เพียงใด  ด้วยกระบวนการเช่นไร  ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล  (Individual  Differences)ไม่ใช่น้อย
            2.  เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ  นั่นคือให้ความสำคัญแก่  จิตพิสัย  คือเจตคติ  ค่านิยม ความสนใจ  และสุนทรียภาพ  แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย  ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว  อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น  นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3.      บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง  เพียงแต่เปลี่ยน  จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
         4.  บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน  คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
         5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ  เพื่อให้เกิด  ความรู้  เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง  ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน  การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
 เหตุผลสนับสนุนการบูรณาการ
1.      การขยายตัวของความรู้  มีเรื่องที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในหลักสูตรมากมาย  เช่น  เอดส์   
     เพศศึกษา  สิ่งแวดล้อม  จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกสาระให้ผู้เรียนเรียนในเวลาที่เท่าเดิม
          2. หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริงเพราะเรียนเป็นช่วง  โรงเรียนต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาอิทธิพลต่อผู้เรียนอย่างไร  เขาควรต้องเห็นความสำคัญของทุกวิชาที่ถูกจัดเชื่อมโยงกันไว้
               3. ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไม่ได้  จะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนกับชีวิตในโลกกว้างได้  (Jacobs, 1989 : 3-4)
            นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนการบูรณาการอย่างน้อยอีก 2 ประการคือ
1.    ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูปและสามารถนำไปแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
  2.  วิชาการหรือแนวคิดต่างๆที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย  (เพราพรรณ  โกมลมาลย์ , 2541 : 66)
 เนื่องจากวิถีชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความหมายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้  
  แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ ดังนั้น (สุวิทย์ มูลคำ  และคณะ : 2543 )
1.    ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง   
     โดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างไกลตัวออกไป
2.    การขยายตัวของความรู้ในปัจจุบัน ขยายไปอย่างรวดเร็วมากมีเรื่องใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสาระที่สำคัญและจำเป็นให้ผู้เรียนในเวลาที่มีเท่าเดิม
3.    ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
4.    เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา แบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
5.    เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ประเภทของการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เราสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ ( สุวิทย์ มูลคำ อ้างถึง UNESCO – UNEP, 1994 : 51 )
1.      การบูรณาการแบบสหวิทยาการ ( Interdisciplinary )
เป็นการสร้างหัวเรื่อง ( Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ ( Themetic Interdisciplinary Studies)  หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก ( Application – First Approach )



การกำหนดหัวเรื่อง ( Theme ) ได้แก่ การสร้างหัวเรื่องโดยมีหลักในการกำหนดหัวเรื่องดังนี้

1.      เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และมีโอกาสได้เลือกเรียน
2.      เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่มประสบการณ์
3.      เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง และมีความหมายต่อผู้เรียน
4.      เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล
5.      เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน  การตั้งชื่อต้องทันสมัย และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน
2.      การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ ( Multidisciplinary


เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก ( Infusion ) ไว้ในวิชาต่าง ๆ หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชาเป็นแกนแล้วนำสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก ( Discipline First Approach )






กรมวิชาการได้แบ่งการบูรณาการหลักสูตรและการสอนเป็น 4 แบบดังนี้

1.   การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
      ครูสอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆเช่น   การอ่าน   การเขียน   การคิด   คำนวณ  การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้   ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
2.   การบูรณาการแบบคู่ขนาน
มีครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ครูผู้สอนคนหนึ่งสอนวิทยาศาสตร์เรื่องเงา ครูผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา คิดคำนวณในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่าง ๆ จัดการทำกราฟของเงาในระยะต่าง ๆ   หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ ผู้เรียนรู้ศิลปะ   เรื่องเทคนิค  การวาดรูปที่มีเงา
3.      การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
การบูรณาการในลักษณะนี้นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องครูผู้สอน  จัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ   ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม    และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นต้น
4.      การบูรณาการแบบโครงกา


ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเป็นโครงการโดยผู้เรียนและครูผู้สอน ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น   โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันในหลายชั่วโมงด้วยการนำเอาจำนวนชั่วโมงของวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนเคยสอนแยกกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษครูผู้สอนสามารถแยกการสอนได้  เช่น   กิจกรรมเข้าค่ายดนตรี  กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ  กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ เป็นต้น

Source: http://portal.in.th/inno-na/pages/291/









ตัวอย่างวิดีโอการสอนแผนCLIL


 Games






A
s teachers how do we better educate our pupils so that they;
With these ideas for teaching English games you can transform your classes and achieve all this because the communication games are designed to allow everyone plenty of opportunity to practise speaking, without neglecting spelling, reading and writing. 
In fact most of the games can also be played to specifically ENHANCE these skills.  There are also spelling games, writing games and English composition games.
So if you have come to this page because you are looking for ways to improve the effectiveness of your teaching and to make your classes more fun, then you have come to the right place because you can achieve those worthwhile goals right here.








 Songs

          Teaching vowel sounds to kindergartners involves associating the sound to a word that begins with the vowel, reinforcing the letter with an action and teaching the short vowel sounds before the long vowel sounds. Teach the vowel letters to kindergarten-aged children with information from an early childhood teacher in this free video on education.
             When teaching letters to young children, take plenty of time to cover each of the five vowels. These are very important for children. Oftentimes when children begin writing they'll leave out the vowel sounds in the middle. I like to call these the middle mystery letters. Take the time to show the children the sounds that each of the vowels make. I like to refer back to the classic letter people when I use the vowel sounds. When I practice A I always have my children make an A with their hands like they're sneezing, and we always say Ahhh-choo, so they learn that Ahhh sound belongs with A. When learning the letter E we like to pretend that we're exercising so the key - the children always go Eh, eh, exercise as they're learning that E says eh. I is one of my favorite letters to teach because the children have a lot of fun. We always teach children that I says "i" and we always go itchy, itchy, i-i-i, as if we're scratching all over our bodies. When we practice the letter O I always tell children that it's the sound that you make at the doctor's office, you always open up and say Ohhhh, and you can say that your mouth makes an O, so when they say the word mop, their mouth is in the shape of an O. The last vowel that you'll want to teach them is the letter U and we always pretend we're putting uh, uh, up our umbrella. So that uh, uh, uh will constantly be reinforced. It's best to teach the children the short vowel sounds first. These are the ones that they'll use more commonly in their three letter words that they'll learn. After the children have mastered their short vowel sounds, then you'll want to take the time to introduce the long vowel sounds. Tell the children that the vowels say their name when it's in a long vowel, this is the difference between being at and rake. Teach the children that the vowels can say either short or long and they'll have to use other visual clues to help them. When they're ready you may even choose to introduce the concept of a silent E that often makes the letter say its name. But again, begin with the short vowel sounds, they're easiest for the kiddos to master at first.
Source: http://www.ehow.com/video_4952237_teach-vowel-sounds-kindergartners.html











Story telling
In this article Mario Rinvolucri explores a range of story telling techniques that he uses in the classroom and gives some insights into why these techniques are effective. You can read the whole text or click on the links below to find out about an individual technique:
Why story telling
Can I open this article by asking you about listening to stories in your own experience? When you were small:
  • Where did you tend to listen to stories?
  • What time of day was it, typically?
  • Who told you or read you stories?
  • How did you react to the stories?
The point of these questions and the answers you have given them in your mind is for you to realise how you yourself relate to stories. My impression is that most people relate pretty strongly to stories experienced in early childhood. Let me tell you an anecdote that illustrates this:I was teaching a micro-group of three or four business men. They were all at elementary level. My boss at the time was quite firm with me 'none of those childish stories of yours with this group… we don’t want them all going home in disgust.'
For a couple of weeks I heeded his words and then decided that the best possible way to teach the past tense was the story of Little Red Riding Hood.
I was well into the story, at the point where the wolf is about to eat the little girl up, [ What big teeth you’ve got granny!] when the Italian marketing manager, a man in his early 30s, shouted: 'Fermati!' ( 'Stop!')
I asked why he’d interrupted me and he said that this was the point at which his three year old daughter always begged him to stop the story. She could not bear the next bit!


Can you think of a more powerful way of teaching this guy English than with a text that had him living two roles, that of himself as a child and that of himself as a parent? The power of the story lies, of course, in the text but also, and centrally, in the relationship between the teller and the students.
My claim is that story telling is a uniquely powerful linguistic and psychological technique in the hands of a language teacher which s/he can use with people of any culture (though the story needs to be culturally appropriate) and with people of virtually any age.
The power of story telling lies in the fact that the teacher is in direct communication with the class, she is not dealing with 'third person' text, by telling a story she makes it her own. The Italian marketing manager was reacting to the girl and wolf story as told by Mario and, simultaneously, to his own telling to his little daughter.
Mixed language telling
There are, of course, many different ways of telling a story to a group. One of the most powerful ways with a group of beginners is to tell the story in the way that follows: (In this case the target language is Modern Greek):
There was this man and he seemed very agitated. This andras, this guy, he went round and round the kipo behind his house (kipo is a garden) looking for something. The andras got down on his hands and knees and started scrabbling around in the border underneath the traiandafila, the roses.

Now the wife of the 
andra, his yineka, happened to be in one of the upstairs rooms of the house. The yineka looked out through the bedroom parathiro and saw her andra searching for something in the border under the traiandafila.
She asked him what he was doing. 'I’m looking for my house keys' her andras shouted.
back.
'Did you lose your house klidia down there in the kipo, in the border under the traiandafila?'
'No' said her andras, 'I didn’t lose my klidia here under the traiandafila, but the light is so much better here!'

I hope the text construction was logical enough for you to understand all the Greek words without having to strain too much. Bi-lingual stories of this sort are magic with small kids and people at this stage of linguistic brilliance (3-8) lap up and ‘interiorize’ the new language without realizing what is happening in their minds. When the story has been told half a dozen times with more and more target language words being used in each telling the whole story is told in the target language and the learners have the giddying sensation that they have understood everything.
Multi-voice storytelling
A technique I really enjoy is telling a story with the help of the listeners. Let me show you how this goes:
  • I ask a couple of learners to sit either side of me and a bit back from me, all three of us facing the class group. I then start the telling like this:
This story is about three people who lived in a village in Vietnam. It was a small village and it had a big river... I simply don’t remember what the river was like and where it ran… [turning to one of the helpers] Do you have a better memory than me? Can you describe it?
  • Both helpers have a go at positioning the river in the village.
  • I then carry on telling the story. Five or six times I stop and get the helpers to enrich the telling with their descriptions. I am careful to retain the plot in my own hands until very near the end. I then ask all the students to write down the ending that they imagine.
  • They read their endings to each other and I will finally also give them my ending. Told in this way, the story belongs much more securely to the group than if I tell the tale on my own.
Sandwich story creative writing technique
Let me now offer you a creative writing version of the above technique that uses a story from Papua New Guinea. (I learnt this story from the Exeter story-teller, David Heathfield.)
Example:
  • Dictate to your class these first lines of a story: 
'Do you know why dogs in Papua New Guinea always sniff each other’s tails when they meet? Well, you’ll soon find out. Long long ago all the dogs on the island came to the hilltop for a meeting.'
  • Then ask them to please describe all the different kinds of dogs which came to the meeting place. Give the students time to write about the dogs. Then ask them to please write what you dictate and say the next sentence:
'The meeting place was a huge hall at the top of a hill.'
  • Then ask them to describe the sort of building they imagine and give them a few moments to write their description. Then once again dictate the next part of the story:
'Before the dogs arrived the place had been very, very quiet.'
  • Ask the students to describe what it sounded like with more than 1000 dogs all moving around. Give them time to write and then continue dictating the story.
'Before they went into the great hall all the dogs had to go and hang their tails up in a special tail-house.'
  • Ask the students to explain why the dogs could not enter the great hall with their tails on. Give them time to write the explanation and then continue dictating.
'Halfway through the meeting the dogs smelt something burning. They rushed for the doors of the great hall and saw smoke billowing out of  the tail-house.'
  • Lastly, ask the students to finish the story in any way they like.
  • Group the students in threes and tell them to read their text to their classmates. They read both the dictated parts and the parts they have written.
The Papua New Guinea ending is that the dogs rushed into the tail house and grabbed any tail they could find in the smoke. From that day to this all dogs have wanted to find their own tail, lost on the day of the great meeting!
This sandwich story creative writing technique is, I think, an outstanding one for the following reasons:
  • Half of the final text is in fully correct English, the parts dictated by the teacher
  • Half the text is the students’ own free invention
  • Psychologically the student appropriates the teacher’s part and feels it to be his own because of his own creative input
  • All of this boosts the student’s linguistic confidence
Two history, one fiction
Think of two incidents from your life that you 
are happy to tell the class and mentally prepare to tell these as brief anecdotes. Also dream up something that might have happened to you but which did not. Prepare to tell the made-up anecdote with the same conviction as the two real life stories.
  • Come into class and simply invite the students to listen to three different things that happened to you some time ago.
  • After the telling explain that two of the anecdotes were real-life happenings while one was fiction.
  • Group the students into fives to decide which was the ‘imaginary’ story. Tell them they will have to justify their choice.
  • After a few minutes in the small groups ask students to give their views to the whole class.
  • Take a vote on which the made-up story was.
Students tend to really love lie-detecting especially when the  teacher is the 'liar'.

No comments:

Post a Comment