My Research

วิจัยเรื่อง ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สมาชิก
นางสาวมยุรี วิบูลย์กุล
นางสาวพัชรี น้อมระวี
นางสาวเนตรชนก นวลมณี


บทที่ 1

บทนำ

ภูมิหลัง
ทักษะการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนภาษาที่สอง การอ่านนั้นถูกใช้มากในอันดับที่สามรองจากการพูดและการฟัง การอ่านเป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จของเด็กๆ การอ่านในห้องเรียนถือเป็นเครื่องมือในการประเมินโดยมีครูเป็นตัวช่วยในการกำหนดระดับการอ่านและความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน (Ward.  2004  :  1) การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต ความสามารถในการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า ซึ่งมีความสำคัญ ต่อบุคคล สังคมและความเจริญทางเศรษฐกิจ ดังนั้นครูที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการอ่านจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้กลายเป็นผู้อ่านที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในอนาคต และการอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการถอดความ การวาดภาพตามจินตนาการ การใช้ภาษา และกลยุทธ์ในการให้ความหมายให้เกิดประสิทธิภาพ การอ่านจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถของบุคคล คือ การแสวงหาประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาของแต่ละบุคคล (The reading faculty of the California State University.  2007  :  1-2)
โคลงเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถอดความทางภาษาในด้านการอ่าน เมื่อเด็กอ่านโคลงแล้วสามารถทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับเด็กสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด ประโยชน์ของการใช้โคลงในห้องเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เน้นไปที่การอ่านออกเสียงของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ สิ่งที่สำคัญสำหรับการอ่านของเด็กๆ คือเน้นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยแสดงให้เห็นว่าเด็กจะได้พัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอ่านโคลง การอ่านออกเสียงจากโคลงเป็นเรื่องที่ดีมากในด้านการพัฒนาทักษะการอ่านจากแรกเริ่ม ซึ่งต่อมา เด็กสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้เร็วขึ้นและสามารถอ่านออกเสียงได้ดังฟังชัด โดยครูจะเป็นผู้คอยชี้แนะเด็กในเรื่องของการจำแนกความแตกต่างของคำศัพท์และการจำแนกเสียงที่แตกต่างกันของคำแต่ละคำ เมื่อครูเล่าเรื่อง เด็กๆจะนึกถึงสิ่งที่ครูเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งจินตนาการเป็นภาพออกมา ซึ่งหนังสือโคลงสำหรับเด็กจะมีอยู่หลายรูปแบบ อาจมีทั้งเนื้อหาประกอบภาพ และมีเพียงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่หนังสือโคลงไม่จำเป็นต้องมีภาพประกอบเพราะว่าเด็กจะสามารถอธิบายความหมายของโคลงนั้นๆและจินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นเอง โคลงเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาจากคำศัพท์ ไม่ใช่การนำภาพมาเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างภาพตามจินตนาการ เด็กจะได้ฝึกแปลความหมายจากคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยรูปภาพที่บอกเป็นนัยจากเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเด็กๆจะสนใจในโคลงพร้อมๆกับพยายามทำความเข้าใจในความหมายของโคลงนั้นๆ (Fisher.  2000  :  3
ครูควรจะสนับสนุนให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และครูต้องให้ความสนใจในการนำเสนอผลงานของเด็กด้วย ซึ่งผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะหลายๆทักษะทางด้านการอ่าน โดยให้โอกาสเด็กในการกล้าแสดงออกด้วยความสนุกสนานถือเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสัทศาสตร์ การอ่านออกเสียง ความคล่องแคล่วในการอ่าน การศึกษาคำศัพท์ และ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโคลง ซึ่งโคลงถือเป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่าน โคลงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสอนคำศัพท์และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนเด็กประถม ครูแนะนำโคลงบทใหม่ๆ โดยการอ่านโคลงด้วยน้ำเสียงที่ดังฟังชัด และเว้นวรรคให้ถูกต้อง หลังจากนั้นเด็กทุกคนในชั้นเรียนอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกัน การอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันช่วยกระตุ้นและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน และสามารถลดความรู้สึกประหม่าในตัวเด็กได้ การอ่านประสานเสียงสามารถดำเนินการในชั้นเรียนหรือกับเด็กกลุ่มเล็กๆได้ อีกทั้งนักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและสามารถระบุประเภทของเครื่องหมายวรรคตอนได้ ยกตัวอย่างเช่น โคลง Sick โดย Shel  Silverstein เมื่อทำความเข้าใจในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในโคลงแล้ว เด็กจะสามารถอ่านโคลงได้คล่องแคล่งและเว้นวรรคได้อย่างถูกต้อง เมื่อนักเรียนได้ฝึกอ่านโคลงแล้ว นักเรียนสามารถออกมานำเสนอและแสดงออกเกี่ยวกับโคลงอย่างเหมาะสมหน้าชั้นเรียน เป้าหมายคือเพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานพร้อมๆกับฝึกประสบการณ์ในขณะเรียน (Jennsimonson.  2011:   website)
ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงเห็นว่าการนำโคลง มาเป็นเนื้อหาการสอนในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ภาษามากขึ้นซึ่งเป็นการเปิดกว้างทางการเรียนรู้ โดยภาษาที่ใช้ จะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ พัฒนาการออกเสียงและการแสดงออกทางภาษาโดยใช้การอ่านออกเสียง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจในบทเรียนที่ผ่านมา ผู้เรียนสามารถที่จะนำกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจในบทเรียนเดิมได้ตามความต้องการ จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงทำให้กลุ่มผู้วิจัยสนใจที่จะนำโคลง เข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้บรรลุตามความมุ่งหมายในการพัฒนาทักษะการอ่านให้ดีมากยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.             เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 70/70
2.             เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.             เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังโดยใช้
โคลง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ความสำคัญของการวิจัย          
    
1.              นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดย
ใช้โคลง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 เป็นสื่อเสริมและเป็นทางเลือกในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
2.              เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอนและผู้ที่มี
บทบาททางการศึกษาในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอื่นๆ อันเป็นการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้เรียน
3.              โคลงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษและเป็นแนวทางที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้วิจัย ครูผู้สอน และผู้ที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และตรงตามความมุ่งหมายที่ต้องการ

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
1.             ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน
จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3 ห้องเรียน
2.    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนหนึ่งห้องเรียนนักเรียนจำนวน 34 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)
3.    ตัวแปรที่ศึกษา                                                                                                          
 3.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง
       3.2 ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
4.   สมมติฐานในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน จะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นหลังจากใช้โคลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน
5.   ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 1 ภาคเรียนคือ ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 4 เดือน เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ 2555
6.   เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
      เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เลือกจากหนังสือเรียนและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                6.1 Unit: Free Time
                        Topic: Poems
                        มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
           6.2 Unit:  Weather
                        Topic: Climate
                                มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                 6.3 Unit: Relationship with other people
                       Topic: Special day
                               มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                   6.4 Unit: Science and Technology
                                         Topic: Solar System
                                    มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.   โคลง คือ คําประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสกัน ซึ่งโคลงในภาษาอังกฤษนั้นจะมีสัมผัสนอกและสัมผัสในซึ่งเป็นการเล่นคำ โคลงในภาษาอังกฤษส่วนมากในหนึ่งบทจะมีอย่างน้อยสองบรรทัดหรือมากกว่าสองก็เป็นได้ โคลงจะใช้ภาษาที่สละสลวย อาจมีการใช้คำศัพท์ที่แทนความหมายของสิ่งๆหนึ่งซึ่งไม่ได้แปลความหมายตรงตัวหรืออาจมีความหมายแฝง อีกทั้งมีการใช้คำที่คล้องจองกัน เหมาะกับการฝึกทักษะการอ่าน โคลงที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่เรื่อง The Key to the kingdom, The tree in season, tMy new year’s resolution, Solar System
2.   ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ คือ ความสามารถในการอ่านออกเสียงโคลงภาษาอังกฤษ การอ่านออกเสียงจะต้องมีน้ำเสียงที่ไพเราะ ชัดเจน มีการเว้นวรรคตอนถูกต้อง มีคุณลักษณะความมั่นใจในการใช้ภาษา มีลีลาการอ่านที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบ และการอ่านโคลงเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเมื่ออ่านโคลงแล้วเด็กสามารถตอบคำถาม เรียงลำดับโคลง เขียนสรุปและวาดภาพที่สื่อถึงโคลงได้
2.1 ประสิทธิภาพการอ่าน หมายถึง การหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
         70 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process) หาได้จากการนำ
คะแนนที่ได้จากคะแนนที่นักเรียนทำกิจกรรมระหว่างเรียนของนักเรียนในทุก Topic รวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ 70 หรือสูงกว่า 70
         70 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product) หาได้จากการนำ
คะแนนที่ได้ จากผลแบบทดสอบทักษะการอ่านหลังเรียนของนักเรียนทุกคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ 70 หรือ สูงกว่า 70
2.2 ดัชนีประสิทธิผล หมายถึง กิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง หมายถึง คะแนนที่แสดงถึงความก้าวหน้าของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6



บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                   การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
                         1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
                         2. การอ่านภาษาอังกฤษ
                         3.โคลง
                         4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 

   กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 1 - 71) ได้กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานหนึ่งใน 8 กลุ่มสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
                         1. สาระสำคัญกลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
                                สาระสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กำหนดได้ดังนี้
                    1.1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง พูด อ่าน เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
                    1.2 ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                    1.3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                   1.4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน สังคมและโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก


                         2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
         สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่  แบ่งได้ดังนี้
                                      สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                                            มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
                                            มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
                                           มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
      สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
                                           มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
                                           มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                                     สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
                                            มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                                      สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
                                            มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
           มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
         3. คุณภาพผู้เรียน
            คุณภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
                      3.1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก / ระบุประโยคและข้อความตรงตามความหมายของสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน บอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังและอ่านบทสนทนา นิทานง่ายๆและเรื่องเล่า
                      3.2 พูด / เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้คำแนะนำ พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด / เขียนแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
                      3.3 พูด / เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่างๆที่ฟังและอ่าน พูด / เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆใกล้ตัว
                      3.4 ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพ เหมาะสม ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี้ยวกับเทศกาล / วันสำคัญ / งานฉลอง / ชีวิตการเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
                      3.5 บอกความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำ ตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย
                      3.6 ค้นคว้ารวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูด / การเขียน
                      3.7 ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา
                      3.8 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ
                      3.9 มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และลมฟ้าอากาศ ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม)
                      3.10 ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound Sentences) สื่อความหมายตามบริบทต่างๆ
         4. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                         ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (2551 : 18)  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ดังตาราง  1 – 8                                                                                     
ตาราง  1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ที่สอดคล้องกับ มาตรฐาน ต.  1.1

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำที่ฟังและอ่าน
















คำสั่ง คำขอร้อง ภาษาท่าทาง และคำแนะนำในการเล่นเกม การวาดภาพ การทำอาหารและเครื่องดื่ม
และการประดิษฐ์
-      คำสั่ง เช่น Look at the…/here/over there./Say it again./Read and draw./Put a/an…in/on/under a/an…/Don’t go over there. Etc.
-      คำขอร้อง เช่น Please look up the meaning in a dictionary.
Please./Can/Could you help me, please? Etc.
-      คำแนะนำ เช่น You should read everyday. /Think before you speak./
-      คำศัพท์ที่ใช้ในการเกม Start./My turn./Your turn./Roll the dice./Count the number./Finish./
-      คำบอกลำดับขั้นตอน First,… Second,… Next,… Then,… Finally,… etc.

2.  อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน





ข้อความ นิทาน และบทกลอน การใช้พจนานุกรม หลักการอ่านออกเสียง เช่น การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและ
-      พยัญชนะท้ายคำ
-      การออกเสียงเน้นหนัก-เบาในคำและกลุ่มคำ
-      การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำในประโยค
ตาราง1 (ต่อ)
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง




-      การออกเสียงเชื่อมโยง (linking sound) ในข้อความ
-      การออกเสียงบทกลอนตามจังหวะ

3.  พูด / เขียนแสดงความต้องการขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ
ช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ





ประโยคหรือข้อความ สัญลักษณ์เครื่องหมาย และความหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการสุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และลมฟ้าอากาศ และเป็นวงคำศัพท์สะสมประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม)

4.  บอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟัง และอ่านบทสนทนา นิทานง่ายๆ
และเรื่องเล่า






ประโยค บทสนทนา นิทาน หรือเรื่องเล่า คำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม
-      Yes/No Question เช่น Is/Are/Can…? Yes,…is/are/can./No,…isn’t/aren’t/
can’t. Do/Does/Can/Is/Are…? Yes/No… etc.
-      Wh-Question เช่น Who is/are…? He/She is…/They are… What…?/Where…? It is…/They are…
What…doing? …is/am/are… etc.
Or-Question เช่น Is this/it a/an…or a/an…? It is a/an… Is/Are/Was/Were? Did…or…? etc
ตาราง  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  1.2
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  พูด / เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล

บทสนทนาที่ใช้ในการทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย การพูดแทรกอย่างสุภาพ ประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง เพื่อน และบุคคลใกล้ตัว และสำนวนการตอบรับ เช่น Hi/Hello/Good morning/Good afternoon/Good evening/I am sorry./How are you?/I’m fine./Very well./Thank you. Are you?/Hello. I am… Hello,…I am… This is my sister. Her name is… Hello,…/Nice to see you. Nice to see you, too./Goodbye./Bye./See you soon/later./Great!/Good./Very good. Thank you very much./You’re welcome./It’s O.K./That’s O.K./That’s all right./Not at all./Don’t worry./Never mind./Excuse me./Excuse me, Sir./Miss./Madam. Etc.

2.  ใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาต และให้คำแนะนำ
คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาต และคำแนะนำที่มี 2-3 ขั้นตอน



3.  พูด / เขียนแสดงความต้องการขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ
ช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ


คำศัพท์ สำนวนภาษา และประโยคที่ใช้บอกความต้องการขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ
เช่น Please…/May…?/I need…/Help me!/Can/Could…?/Yes,…/No,… etc.


ตาราง2 (ต่อ)
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
4.  พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว


คำศัพท์ สำนวนภาษา และประโยคที่ใช้ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว เช่น What do you do? I’m a/an… What is she/he? …is a/an (อาชีพ) How old/tall…? I am…

Is/Are/Can…or…? …is/are/can… I/Are…going
to…or…? …is/are going to…etc
5.  พูด / เขียนแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆ
พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
คำและประโยคที่ใช้แสดงความรู้สึกและการใช้เหตุผลประกอบ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดีใจ เสียใจ มีความสุข เศร้า หิว รสชาติ สวย น่าเกลียด เสียงดัง ดี ไม่ดี เช่น I’m…/He /She/It is…/ You/We/They are… I/You/We/They like…/He /She likes… because… I/You/We/They love…/He /She loves…because… … I/You/We/They don’t like/love/feel…because… I/ You/We/They feel…because…etc.











ตาราง  3  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  1.3
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  พูด / เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว






2.  เขียนภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่างๆตามที่ฟังหรืออ่าน

ประโยคและข้อความที่ใช้ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง กิจวัตรประจำวัน เพื่อน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งต่าง ๆ จำนวน 1-1,000 ลำดับที่ วัน เดือน ปี ฤดูกาล เวลา กิจกรรมที่ทำ สี ขนาด รูปทรง ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ทิศทางง่าย ๆ สภาพดินฟ้าอากาศ อารมณ์ ความรู้สึกเครื่องหมายวรรคตอน

คำ กลุ่มคำ และประโยคที่มีความหมายสัมพันธ์กับภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตาราง

3.  พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว
ประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น



ตาราง  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  2.1
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกริยาท่าทางอย่างสุภาพเหมาะสมตามมารยาทสังคมและ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางตามมารยาททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น การขอบคุณ ขอโทษ การใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดงความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ การกล่าวอวยพรการแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ


ตาราง4 (ต่อ)
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
2.  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล / วันสำคัญ / งานฉลอง / ชิวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของ
ภาษา

ข้อมูลและความสำคัญของเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เครื่องแต่งกาย ฤดูกาล อาหาร เครื่องดื่ม
3.  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่นเกม การร้องเพลง การเล่านิทาน บทบาทสมมุติ วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์

ตาราง  5  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  2.2
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  บอกความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้
เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
 

2.  เปรียบเทียบความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างเทศกาลงานฉลองและประเพณี
ของเจ้าของภาษากับภาษาไทย

ความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ ของเจ้าของภาษากับของไทย
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการลำดับคำตามโคลงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย

การเปรียบเทียบความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างเทศกาลงานฉลองและประเพณี
ของเจ้าของภาษากับภาษาไทย






ตาราง  6  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  3.1
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.   ค้นคว้า รวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้และนำเสนอด้วยการพูด / การเขียน
การค้นคว้า การรวบรวม และการนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

ตาราง  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่สอดคล้องกับ  มาตรฐาน  ต.  4.1
                                        ตัวชี้วัด                                      
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา
การใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และสถานศึกษา

ตาราง  8 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ที่สอดคล้องกับ มาตรฐาน ต.  4.2
                                        ตัวชี้วัด                                      
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
การใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและการรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัวจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ

                         5. โครงสร้างหลักสูตร
              กระทรวงศึกษาธิการ (2551  :  18)  กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ เรียนปีละ 80  ชั่วโมง
                                      การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้
                                            ระดับประถมศึกษา  สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด  
                                            ระดับมัธยมศึกษา  ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร
 สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร  เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                                         กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 360 ชั่วโมงนั้น   เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
                         ระดับประถมศึกษา (ป.1-6)                 รวม  6  ปี              จำนวน  60  ชั่วโมง
                         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)        รวม  3  ปี             จำนวน  45  ชั่วโมง
                         ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)     รวม  3  ปี             จำนวน  60  ชั่วโมง
                         6.    คำอธิบายรายวิชา                                          
         กระทรวงศึกษาธิการ (2544  : 93) กำหนดคำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
                     เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ภาษาท่าทาง คำแนะนำในสถานศึกษา และสังคมรอบตัว อ่านออกเสียงคำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ตามหลักการอ่านออกเสียง เข้าใจประโยค ข้อความสั้นๆ บทสนทนา เรื่องสั้น เรื่องเล่า และนิทาน ใช้ภาษาง่ายๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการของตน เสนอความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงความรู้สึกและบอกเหตุผล ขอและให้ข้อมูล อธิบายเกี่ยวกับบุคคล และสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ตนเอง สิ่งแวดล้อม สังคมใกล้ตัว ครอบครัว โรงเรียน อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่าง นันทนาการ  การซื้อขาย ลมฟ้าอากาศ นำเสนอความคิดรวบยอด ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่ใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ นำเสนอบทเพลง บทกวี ตามความสนใจด้วยความสนุกสนาน เข้าใจรูปแบบ พฤติกรรม และการใช้ถ้อยคำ สำนวนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณี เทศกาล งานฉลองในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทยในเรื่องเสียง สระ พยัญชนะ คำ วลี ประโยค และข้อความง่ายๆ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา เห็นประโยชน์ของการรู้ภาษาอังกฤษในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิงและการเข้าสู่สังคม สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เข้าใจและถ่ายทอดเนื้อหาสาระภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ใช้ภาษาเพื่อสื่อสารตามสถานการณ์ต่าง ๆ กับบุคคล ภายในสถานศึกษา อาชีพต่าง ๆ ในสถานการณ์จำลองและการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
                         7. หน่วยการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
               กระทรวงศึกษาธิการ (2544  : 93) กำหนดหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
                Unit 1 : Myself
                                  - Autobiography
                         Unit 2 : School
          - Time
          - Schedule
          - How to make things
                         Unit 3 : Family
          - Leisure
          - Activities
                         Unit 4 : Free time
          - Movies
  - News
          - Poems
                         Unit 5 : Shopping
          - Quantities and Container
          - Price
                         Unit 6 : Weather
          - Climate
                         Unit 7 : Travel
          - Direction
          - Time Table
                         Unit 8 : Relationship with Other People
                                  -Special Day
                         Unit 9 : Food and Drink
          - Weight and Measure
          - Price


                         8. การวัดและการประเมินผล
                                กรมวิชาการ  (2546  :  245-253)  ได้กำหนดการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการ  สื่อสาร  ประเมินทั้งความรู้ซึ่งหมายถึง  เนื้อหาทางภาษา  ประกอบด้วย  เสียง  คำศัพท์  โครงสร้าง  ไวยากรณ์  ประเมินทั้งความสามารถหรือประสิทธิภาพซึ่งหมายถึงทักษะในการนำความรู้ไปใช้  การเลือกใช้ภาษาได้เหมาะสมสอดคล้องกับความคิดและสถานการณ์  และประเมินขอบเขตของการใช้ภาษา  นั่นคือ  สมรรถภาพในการสื่อสาร  ซึ่งหมายถึง  ทักษะการปรับตนของนักเรียนในสถานการณ์การสื่อสาร  สามารถแยกได้เป็น  4  สมรรถภาพย่อย  ดังนี้
1.        สมรรถภาพทางภาษา  (Linguistic Competence)  เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง
ความสามารถในการใช้เนื้อหาภาษา ได้แก่ การเปล่งเสียง การสร้างคำ การใช้คำศัพท์ และโครงสร้างประโยค
2.        สมรรถภาพทางภาษาศาสตร์  สังคมและวัฒนธรรม 
(Socio-linguistic and Socio-cultural Competence) เป็นความสามารถในการรู้จักใช้ภาษาตามวัฒนธรรมสังคม รู้จักปรับภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลและกฎเกณฑ์ทางสังคม ตามบทบาทและสถานภาพในสถานการณ์การสื่อสาร
3.        สมรรถภาพทางการเรียบเรียงถ้อยคำ  (Discursive
Competence)  เป็นความสามารถในการเรียบเรียงลำดับความคิด เชื่อมโยงข้อความเป็นความหลัก ความรอง รายละเอียดบริบท ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่สื่อสารด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร
4.        สมรรถภาพทางยุทธศาสตร์การสื่อสาร  (Strategic
Competence)  เป็นความสามารถในการใช้วิธีการทดแทนต่างๆ เพื่อดำเนินการสื่อสารให้ต่อเนื่อง เช่น การอธิบายคำด้วยท่าทาง หรือด้วยการใช้ประโยคเทียบเคียง
                  ในการออกแบบการประเมินทักษะทางภาษา  ต้องกำหนดสิ่งที่ต้องการประเมินให้
ชัดเจนตามสมรรถภาพในการสื่อสาร  โดยอาจแยกเป็นประเด็นตามจุดประสงค์การประเมิน  ดังนี้
                        1.  ประเมินเนื้อหาทางภาษาหรือการใช้ภาษา
                                       1.1  ถ้าต้องการประเมินเนื้อหาย่อยๆ  ที่เป็น
องค์ประกอบของประโยคจะมุ่งวัดที่ไวยากรณ์  คำศัพท์  การออกเสียง
1.2   ถ้าต้องการประเมินวิธีการที่นักเรียนเอา
องค์ประกอบเหล่านี้มารวมกันในขณะที่ใช้ภาษาต้องประเมินการใช้ภาษา
                        2.  ประเมินสมรรถภาพทางภาษา
                               2.1  ถ้าต้องการประเมินการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับ
บุคล  สถานภาพทางสังคม จำเป็นต้องประเมินสมรรถภาพทางภาษาศาสตร์  สังคมและวัฒนธรรม
                               2.2 ถ้าต้องการประเมินความสละสลวยในการ
ลำดับความทางภาษาจำเป็นต้องประเมินสมรรถภาพทางการเรียบเรียงถ้อยคำ
                                            2.3 ถ้าต้องการประเมินวิธีการหาข้อมูล การแก้ปัญหาในการพูด จำเป็นต้องประเมินสมรรถภาพทางยุทธศาสตร์การสื่อสาร
                        3.  ประเมินการเรียนรู้
                               3.1  ความสามารถในการใช้พจนานุกรม
                               3.2  ความสามารถในการหาความหมายของคำที่ไม่รู้จัก
                               3.3  รู้จักใช้ภาษาในการถามเพื่อแสวงหาคำตอบ
                        4.  ประเมินทักษะการเรียนรู้ทั่วไป
                               4.1  การทำงานร่วมกันในกลุ่ม
                               4.2  การรู้จักตนเองว่า  รู้อะไร  และยังจำเป็นต้องเรียนรู้อะไร
                               4.3  ยุทธศาสตร์ในการหาข้อมูลที่ไม่รู้
                               4.4  การปฏิบัติตามคำสั่งในการทดสอบ
5.        เกณฑ์การประเมิน  (Scoring Rubrics) 
                                        เกณฑ์การประเมิน (Scoring Rubrics) โดยทั่วไปมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
                                           5.1 เกณฑ์ (Criteria) หรือแนวทางต่างๆ ที่นำมาใช้ในการพิจารณา เช่น ความถูกต้อง การใช้ภาษา ความคล่องแคล่ว ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
                             5.2 คำอธิบาย (Rubrics) ถึงระดับคุณภาพของแต่ละแนวทางหรือเกณฑ์ว่ามี
ความสำเร็จอยู่ในระดับใด  จึงจะได้ตามเกณฑ์
                             รูปแบบของเกณฑ์การประเมิน  จำแนกเป็น 2  ประเภท  ดังนี้
                                          1.  เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม  (Holistic Rating Scales)  เป็นแนวทางในการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของผลงาน  โดยนำองค์ประกอบสำคัญที่บ่งบอกถึงผลงานที่คาดหวัง  มาจัดทำเป็นรายการ  ระบุคำอธิบายที่บรรยายลักษณะของเกณฑ์ในแต่ละรายการเรียงร้อยต่อกันเป็นภาพรวมที่แสดงถึงคุณภาพให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในแต่ละระดับ  กำหนดเป็นเพียงคะแนนเดียวสำหรับงานหรือการปฏิบัตินั้นๆ  เหมาะที่จะนำมาใช้ในการประเมินทักษะการเขียน  ทักษะการพูด  เช่น  ในการประเมินการใช้ภาษาสำหรับการเขียนตอบแบบไม่จำกัด  องค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่  การเลือกใช้คำศัพท์  การสื่อความ  ความต่อเนื่อง  ความเชื่อมโยง  ความต่อเนื่องของแนวคิด  ความคิดสร้างสรรค์  และความสละสลวยของภาษาได้
                              2.  เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rating Scales) เกณฑ์การ
ประเมินแบบแยกส่วน  คือ  แนวทางให้คะแนนโดยพิจารณาแต่ละส่วนของงานที่มีลักษณะการตอบที่จำกัด  ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางให้คะแนน  โดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้นๆ  ในแต่ละระดับให้ชัดเจน  กล่าวคือ  กำหนดการพิจารณาเป็นประเด็นต่างๆ  แยกกันในงานชิ้นเดียว  ซึ่งครูผู้สอนจะสามารถเปรียบเทียบงานนั้นได้โดยตรงกับเกณฑ์ที่กำหนด  และส่วนใหญ่จะพิจารณาไม่เกิน 4  ด้าน สำหรับแนวทางในการสร้างเกณฑ์การประเมินทางภาษาพิจารณาเป็น 4  แนวทาง  ดังนี้
2.1  เกณฑ์การปฏิบัติ  (Pragmatic Criteria)  ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณา 
ได้แก่  การปฏิบัติตนของผู้เรียนที่แสดงออกถึงความสามารถทางภาษา เช่น การวาดภาพตามคำสั่งที่ได้ฟัง  หรืออ่าน หรือ อาจจะเป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความถึงสิ่งที่เขาควรปฏิบัติ เช่น ใช้ภาษาเขียนลำดับขั้นตอนการทำงานของตนเองได้
                                         2.2  เกณฑ์ทางภาษา  (Linguistic Criteria)  ควรให้ครอบคลุมทั้งการใช้คำศัพท์ 
(Lexicon)  รูปแบบประโยค  (Syntax) ความถูกต้องในการออกเสียงสำหรับการพูด (Phonology) และเรียบเรียงคำในประโยค (Morphology) 
                                         2.3  เกณฑ์ทางวัฒนธรรม  (Cultural Criteria)  ต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม
ประเพณี  และแนวปฏิบัติอันเป็นวัฒนธรรมที่แสดงออกทางภาษา เช่น การต้อนรับ การขอบคุณ ขอโทษ หรือระดับภาษา เป็นต้น
                                            2.4 เกณฑ์ด้านยุทธศาสตร์การสื่อสาร  (Strategic Criteria)  ควรได้พิจารณา
ยุทธศาสตร์ของผู้สอนที่จะทำให้การสื่อสาร  สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  เกิดความเข้าใจกันตามจุดมุ่งหมาย  ยุทธศาสตร์ต่างๆ  เหล่านี้  ได้แก่  น้ำเสียง  ภาษาท่าทาง  การใช้ภาษาเทียบเคียง  ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  สภาวะทางอารมณ์  เป็นต้น

การอ่านภาษาอังกฤษ

                   1. ความหมายของการอ่าน
        คอลลาฮาน และ คลาร์ค  (Callahan and Clark.  1982  :  260)  ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์เรามีความสามารถที่จะดึงเอาความคิด แนวคิดหรือภาพจินตนาการจากคำที่กำหนดไว้ เป้าหมายที่สำคัญของผู้อ่านก็เพื่อทำความเข้าใจและขยายบริบท ช่วยให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะการอ่าน ครูจะต้องมีบทบาทและความสามารถในการให้ความช่วยเหลือเด็ก ในเรื่องของการแยกความสำคัญในทักษะการอ่าน และการทำกิจกรรมการอ่านได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงเรื่องการสร้างคำศัพท์ การพัฒนาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ และมีการพัฒนาทางด้านทักษะการอ่านอย่างสูงสุด
          แพงค์ และคณะ (Pang and other.  2002  :  Web Site) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ ซึ่งการอ่านจะประกอบด้วยสองกระบวนการด้วยกันคือ การจดจำคำศัพท์และความเข้าใจ การจดจำคำศัพท์ หมายถึง การเข้าใจในกระบวนการในการเขียนสัญลักษณ์ให้ผู้อื่นเข้าใจ ความเข้าใจ หมายถึง กระบวนการสร้างความเข้าใจในคำศัพท์  ประโยคและเนื้อหาต่างๆ     
               โดยสรุป การอ่าน หมายถึง กระบวนการที่ผู้อ่านแปลความ คำ สัญลักษณ์ที่เป็น
ตัวอักษร พิมพ์หรือเขียนออกมาให้เข้าใจ ซึ่งเป็นผลของกระบวนการสร้างความหมายโดยผสมผสาน
กันระหว่าง ความมุ่งหมายของผู้เขียนและประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน
                   2. การจัดกิจกรรมการสอนทักษะการอ่าน
                         ฮาร์มเมอร์ (Harmer.  1998  :  68) กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการอ่านไว้ว่า มีหลายเหตุผลมากที่ต้องอ้างว่าทำไมต้องมีการสอนทักษะการอ่านให้กับเด็กๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ครูผู้สอน นักเรียนหลายๆ คนต้องการที่จะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายทางด้านการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถจัดทำสื่อการสอนเกี่ยวกับการอ่านในเรื่องง่ายๆ ให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเกิดกระบวนการด้านความคิด การอ่านเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ดังนั้นการอ่านจึงถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้เรียนภาษา อย่างน้อยที่สุดผู้เรียนก็มีความรู้ทางด้านภาษาติดอยู่ในสมองหรืออยู่ในความคิดของผู้เรียน จึงทำให้นักเรียนมีความรู้และการได้ฝึกคิด จึงเป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ อีกทั้งการอ่านเป็นการเปิดโอกาสทางด้านการเรียนภาษาให้กับผู้เรียน ด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และการสร้างประโยคโดยการเขียนบทความสั้นๆ  ท้ายที่สุดนี้การอ่านเนื้อหาหรือข้อความที่ดีครูจะต้องสามารถแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจ และมีการอภิปรายหรือโต้แย้งโดยหาเหตุผลเพื่อมาสนับสนุนได้ กระตุ้นให้เด็กหาคำตอบโดยเน้นการใช้จินตนาการและกระตุ้นให้เด็กมีความสามารถในหลายๆ ด้านตลอดจนสร้างบทเรียนให้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้เรียน
        มิคูเลกกี้ (Mikulecky.  2008  :  Web Site) กล่าวว่า ทักษะการอ่านเป็นกระบวนการทางความรู้ที่ผู้อ่านจะใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่าน สำหรับผู้อ่านที่อ่านได้อย่างคล่องแคล่วจะทำให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้อ่านได้อ่านเนื้อหาที่ยาก ผู้อ่านจะใช้ทักษะเหล่านี้ในการทำความเข้าใจกับเนื้อหานั้นๆ ทักษะการอ่านจะมีความแตกต่างกันในทุกภาษาขึ้นอยู่กับโครงสร้างของภาษาและความสามารถในการเรียนรู้จากเจ้าของภาษา ครูผู้สอนที่สอนภาษาอังกฤษและสอนภาษาต่างประเทศควรฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการทำความเข้าใจในภาษาอังกฤษ ดังเช่น บราวน์และคนอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้กระบวนการคิดใหม่นั้นสามารถทำได้ดีที่สุดเมื่อนักเรียนตระหนักถึงกระบวนการและวิธีการสอนทักษะการอ่านเพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งการอ่านจะมีกระบวนการคิดของนักเรียนว่าเกิดจากการเรียนรู้ของเขาเองมากกว่า ครูหลายคนเชื่อว่าสามารถสอนทักษะการอ่านโดยสอนให้นักเรียนอ่านข้อความและการอ่านช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลดีสำหรับนักเรียนเมื่อครูมุ่งเน้นไปที่ทักษะการอ่านมากขึ้นกว่าเดิมและมีการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการอ่านที่ดีด้วยวิธีการตามแบบของการอ่าน ดังนั้นนักเรียนก็จะสามารถนำทักษะการอ่านที่ครูสอนไปใช้ได้ในระดับเนื้อหาที่ยากยิ่งขึ้นและเกิดประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้
   3.ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
         ลีน (Leane. 2002 : Web Site) กล่าวว่าพื้นฐานในการสอนทักษะการอ่าน  ประกอบด้วยสามขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนกิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre - Reading) ขั้นตอนกิจกรรมระหว่างการอ่าน (While - reading) และ ขั้นตอนกิจกรรมหลังการอ่าน  (Post - Reading) ในแต่ละขั้นตอนครูผู้สอนอาจจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ดังนี้
                                3.1 กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre - Reading Activities) เป็นการสร้างความสนใจและปูพื้นความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ตัวอย่าง กิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่
            3.1.1 ให้คาดคะเนเรื่องที่จะอ่าน เป็นการกระตุ้นให้
ผู้เรียนคิดถึงความรู้เดิมแล้วนำมาสัมพันธ์กับเรื่องที่อ่าน การคาดคะเนอาจจะผิดหรือถูกก็ได้
                                      3.1.2 ให้เดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท โดยดูจากประโยคข้างเคียง หรือจากรูปภาพ และการแสดงท่าทาง
                                3.2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน (While - Reading Activities) เป็นการทำความเข้าใจโครงสร้างและเนื้อความในเรื่องที่อ่าน กิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่
                                      3.2.1 ให้ลำดับเรื่องโดยให้ตัดเรื่องออกเป็นส่วนๆ (Strip Story) อาจจะเป็นย่อหน้าหรือเป็นประโยคก็ได้ แล้วให้ผู้เรียนในกลุ่มลำดับข้อความกันเอง
                                      3.2.2 เขียนแผนผัง โยงความสัมพันธ์ของเนื้อเรื่อง (Semantic Mapping)
                                      3.2.3 เติมข้อความลงไปในแผนผังของเนื้อเรื่อง (Graphic Organizer)
                                      3.2.4 เล่าเรื่องโดยสรุป
                                3.3 กิจกรรมหลังการอ่าน (Post – Reading Activities) เป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน กิจกรรมที่ทำอาจจะเป็นการโยงไปสู่ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการพูด และการเขียน ตัวอย่างกิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่
      3.3.1 ให้แสดงบทบาทสมมุติ
                                      3.3.2 ให้เขียนเรื่องหรือเขียนโต้ตอบ เช่น เขียนจดหมาย เขียนสนทนา เขียนแบบฟอร์ม วาดรูป เป็นต้น
                                      3.3.3 พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน



                   4. การวัดประเมินทักษะการอ่าน
                                4.1 การประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจ
                                    โคเฮน (Cohen.  1994  : 216-217 ) ได้กล่าวถึงการประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นการวัดความสามารถตามระเบียบปฏิบัติ ซึ้งพื้นฐานการประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นการประเมินที่มีขอบเขตจำกัด และขอบเขตในการประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจ มีดังนี้
                4.1.1 ตระหนักและเข้าใจในเนื้อหา และสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อหาได้
                4.1.2 สามารถเข้าใจและรับรู้ถึงทัศนคติของผู้แต่งได้
                4.1.3 รับรู้และเข้ใจอย่าลึกซึ้งในธรรมชาติของเนื้อหาได้
                4.1.4 หลังจากเสร็จสิ้นการอ่านแล้ว มีกลวิธีในการนำความรู้กลับมาใช้ได้
                4.1.5 มีหลักการในการสรุปใจความสำคัญจาการอ่าน
นอกจากนี้กระบวนการอ่านและความคล่องแคล่วในการอ่าน ไม่ใช่การประเมินที่ดีที่สุด แต่การประเมินที่ดีที่สุดจะต้องประกอบด้วยครูที่มีทักษะการสังเกตที่ดีและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน  ซึ่งนักเรียนคือผู้ที่อ่านเนื้อหาโดยตรง และครูผู้สอจะเป็นผู้สังเกตนักเรียนถึงการสร้างองค์ความหมายและการแปลความในการอ่านของนักเรียนด้วย
                                     เพียร์สัน (Pearson.  2004  :  Web Site) ได้กล่าวถึงการประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจไว้ว่า การประเมินจะต้องมีความเชื่อถือได้และมีความสอดคล้องกับผลของการอ่านเพื่อความเข้าใจ อย่างไรก็ตามเกณฑ์การประเมินผลการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนี้
                                      4.1.1 พื้นฐานของการอ่านเพื่อความเข้าใจจะต้องมีเนื้อหาให้ผู้เรียนอ่านอย่างเพียงพอและเนื้อหาต้องไม่ยุ่งยากและซับซ้อน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
                                      4.1.2 ครูผู้สอนพึงระลึกเสมอว่าผู้เรียนทุกคนย่อมมีความสามารถในการอ่านคำศัพท์ ความสามารถในการอ่านและความสามารถในการเขียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูผู้สอนควรมีเกณฑ์ การประเมินที่หลากหลาย เช่น การประเมินในการอ่านและออกเสียงคำศัพท์ การประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยให้นักเรียนอ่านออกเสียงแล้วให้เด็กจับใจความสำคัญ จากนนั้นอาจให้เด็กเขียนสรุปแล้วอ่านให้เพื่อนในชั้นฟัง
                                      4.1.3 เชื่อมั่นในการตอบสนองของผู้เรียน โดยเมื่อครูผู้สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ ครูผู้สอนต้องเชื่อมั่นในตัวของผู้เรียนโดยเด็กอาจจะทำกิจกรรมได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ครูผู้สอนก็ต้องคอยให้กำลังใจและคอยแนะนำให้เด็กมีกำลังใจและมีพัฒนาการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้
                                      4.1.4 เชื่อมั่นในความรู้พื้นฐาน ของผู้เรียน โดยครูผู้สอนต้องระลึกเสมอว่าพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนนั้นมีความแตกต่างกัน โดยครูต้องเข้าใจว่าผู้เรียนมีทั้งกลุ่มอ่อน และกลุ่มเก่ง ดังนั้นครูไม่ควรเปรียบเทียบเด็กระหว่างกลุ่มอ่อนและกลุ่มที่เก่ง
                                    อย่างไรก็ตามครูผู้สอนจะต้องมีการตรวจสอบและการประเมินความเข้าใจของผู้เรียน สำหรับการประเมินผลการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา อาจจะมีการดำเนินการประเมินผลโดยการใช้กิจกรรมที่เน้นทักษะการฟังและทักษะการอ่าน  ซึ่งการประเมินกิจกรรมอ่านเพื่อความเข้าใจและอ่านออกเสียงครูผู้สอนสามารถให้เด็กอ่านออกเสียง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่ครูผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษา ตลอดจนจำเรื่องราวและรายละเอียดเพื่ออ่านให้เพื่อนและคนอื่นๆ ฟังได้ ในการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน ครูผู้สอนควรกำหนดขอบข่ายในการประเมินอย่างชัดเจน เพื่อให้ผลการประเมินที่ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และครูผู้สอนควรจะมีการแก้ไข ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือเกณฑ์การประเมินเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
                                 สำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ควรมีการประเมินเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการอ่านโดยใช้กลยุทธ์ในการประเมินที่เหมาะสม คือประเมินถึงความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เรียนได้อ่าน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนจะมีการตอบสนองต่อเนื้อหาในการอ่านเพื่อความเข้าใจอย่างไร ในขณะเดียวกันผู้เรียนควรมีการประเมินตนเอง โดยการตรวจสอบ วัดผลและประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจของตนเองและตระหนักถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถให้ความหมายของการวัดผลและประเมินผลได้ ซึ่งมีแนวทางการประเมินทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและวิธีการทดสอบทักษะการอ่านดังนี้
                                4.2.1 แนวทางในการประเมินผลการอ่านเพื่อความเข้าใจ
                                    เพียร์สัน (Pearson.  2004  :  Web Site) กล่าวว่า เพื่อให้การประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ในทำการประเมินผลควรมีแนวทางดังนี้
4.2.1.1 สะท้อนผลการประเมินอย่างชัดเจนและแท้จริง โดยมีการประเมินอย่างไร
และผลการประเมินออกมาอย่างไร การสรุปผลการประเมินต้องเป็นไปตามผลการประเมิน
4.2.1.2 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการประเมินทุกครั้งต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์
ในการประเมินที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าในการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร
4.2.1.3สะท้อนการเรียนการสอน ผลการประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจต้องมี
การสะท้อนถึงการเรียนการสอน เพราะทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพในด้านการเรียนการสอนต่อไป
                                      4.2.1.4แสดงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการประเมินทุกครั้งครูผู้สอนต้องนำผลการประเมินมาปรับปรุงในการสอนผู้เรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน.ให้มีประสิทธิภาพ
                                      แม็กเลียโน และ คณะ (Magliano and other.  2007  : Web Site) กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์แบบแผนและวิธีการในการสอนการอ่าน เช่นการประเมินความสามารถในความเข้าใจของผู้เรียนและการประเมินความสามารถของผู้เรียนก่อนเรียน ซึ่งการวิเคราะห์จุดอ่อนของผู้เรียนก่อนได้รับการฝึกฝน และการเรียนการสอนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้อ่านเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากที่สุด การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการประเมินและตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียนเพื่อปรับปรุงทักษะความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนตลอดหลักสูตร การประเมินเป็นสิ่งสำคัญเพื่อวัดว่าการสอนแบบใดมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะความเข้าใจของผู้เรียนมากที่สุด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงคือวิธีการในประเมินซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการประเมิน
                                4.2 การประเมินการอ่านออกเสียง
                            แฮมมิลตัน (Hamilton.  1999  :  website) กล่าวถึงการวัดและประเมินการอ่านออก
เสียงไว้ ดังตารางต่อไปนี้

             เกณฑ์
ทักษะ
4
3
 1
ความคล่องแคล่ว

และความถูกต้อง




-ออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้อง
-ออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้อง เกือบทุกคำ
-ออกเสียงคำศัพท์ได้บางคำ
 -มีข้อผิดพลาดในการอ่านออกเสียงคำศัพท์
-ไม่มีความกังวล หรืออ่านติดขัดใดๆ
-มีความกังวลหรืออ่านติดขัดเล็กน้อย
-มีความกังวลหรืออ่านติดขัดปานกลาง
-มีความกังวลหรืออ่านติดขัดบ่อยครั้ง
-อ่านโดยพร้อมเพรียงกันและถูกต้อง
-อ่านโดยพร้อมเพรียงกัน
-อ่านได้แต่ประโยคไม่ค่อยจะประติดประต่อ
-อ่านได้ทีละคำใน ประโยค
- ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายวรรคตอน จังหวะและถ้อยคำคล้องจอง
- ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายวรรคตอน แต่อ่านไม่ได้จังหวะและไม่คล้องจอง
- เกิดข้อผิดพลาดบางอย่างในการแบ่งวรรคตอนมีผลต่อความหมาย
 - ไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายวรรคตอนหรือการใช้ถ้อยคำในการอ่านซึ่งผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ

การฝึกฝน


-อ่านได้ถูกจังหวะและถูกต้อง
 -อ่านได้ถูกจังหวะบ่อยครั้ง
 -อ่านเร็วและช้าไม่ถูกจังหวะในบางครั้ง
 - อ่านเร็วและช้าสลับกัน ไม่เข้าจังหวะ
-เพิ่มอารมณ์และความรู้สึกเข้าไปด้วยเวลาที่อ่าน
- เพิ่มอารมณ์และความรู้สึกเข้าไปด้วยบ่อยครั้ง
- เพิ่มอารมณ์และความรู้สึกเข้าไปด้วยบางครั้ง
-ไม่มีความพยายามที่จะ เพิ่มอารมณ์และความรู้สึก

การเปล่งเสียง

และถ้อยคำ

-มีการเปลี่ยนแปลงระดับโทนเสียง เพื่อเพิ่มอารมณ์หรือความหมายของคำได้ถูกต้อง
 -มีการเปลี่ยนแปลงระดับโทนเสียง เพื่อเพิ่มอารมณ์หรือความหมายของคำบ่อยครั้ง
 -มีการเปลี่ยนแปลงระดับโทนเสียง เพื่อเพิ่มอารมณ์หรือความหมายของคำบางครั้ง
 -ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโทนเสียง เพื่อเพิ่มอารมณ์หรือความหมายของคำ


โคลง

1.             ความหมายของโคลง
นอทท์ (Nott.  2004  :  website)ให้ความหมายว่า โคลงคือความพยายามที่จะถ่ายทอด
ความรู้สึกและสัมผัส โคลงมีโครงสร้างที่สวยงามและวลีที่สมบูรณ์แบบ โคลงคือเสียงร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิด
       ฟิชเชอร์ (Fisher.  2000  :  website)  ให้ความหมายว่า โคลงเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถอดความทางภาษาในด้านการอ่าน
       ฟอนเทน (Fontaine. 2004  :  website) ให้ความหมายว่า โคลงคือบทเพลงหรือการสัมผัสพยัญชนะหรือสระที่อยู่ในความคิดหรือจิตนาการ โคลงเป็นความงดงามของบทกวีถ่ายทอดความรู้สึกที่งดงามที่อยู่ภายใต้จิตวิญญาณ และโคลงยังเป็นภาพที่วาดไว้แล้วภายในจินตนาการ แต่สามารถถูกมองเห็นภาพได้ด้วยคำพูด
2.             โคลงในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
         ฟิชเชอร์ (Fisher.  2000  :  3) ได้กล่าวว่า ประโยชน์ของการใช้โคลงในห้องเรียน ภาษาอังกฤษไม่ได้เน้นไปที่การอ่านออกเสียงของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ สิ่งที่สำคัญสำหรับการอ่านของเด็กๆ คือเน้นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยแสดงให้เห็นว่าเด็กจะได้พัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอ่านโคลง การอ่านออกเสียงจากโคลงเป็นเรื่องที่ดีมากในด้านการพัฒนาทักษะการอ่านจากแรกเริ่ม ซึ่งต่อมา เด็กสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้เร็วขึ้นและสามารถอ่านออกเสียงได้ดังฟังชัด โดยครูจะเป็นผู้คอยชี้แนะเด็กในเรื่องของการจำแนกความแตกต่างของคำศัพท์และการจำแนกเสียงที่แตกต่างกันของคำแต่ละคำ เมื่อครูเล่าเรื่อง เด็กๆจะนึกถึงสิ่งที่ครูเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งจินตนาการเป็นภาพออกมา ซึ่งหนังสือโคลงสำหรับเด็กจะมีอยู่หลายรูปแบบ อาจมีทั้งเนื้อหาประกอบภาพ และมีเพียงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่หนังสือโคลงไม่จำเป็นต้องมีภาพประกอบเพราะว่าเด็กจะสามารถอธิบายความหมายของโคลงนั้นๆและจินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นเอง โคลงเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาจากคำศัพท์ ไม่ใช่การนำภาพมาเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างภาพตามจินตนาการ เด็กจะได้ฝึกแปลความหมายจากคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยรูปภาพที่บอกเป็นนัยจากเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเด็กๆจะสนใจในโคลงพร้อมๆกับพยายามทำความเข้าใจในความหมายของโคลงนั้นๆ
       ซิมมอนซัน (Simonson.  2011:   website) ได้กล่าวไว้ว่า ครูควรจะสนับสนุนให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก ซึ่งโคลงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสอนคำศัพท์และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนเด็กประถม ครูแนะนำโคลงบทใหม่ๆ โดยการอ่านโคลงด้วยน้ำเสียงที่ดังฟังชัด และเว้นวรรคให้ถูกต้อง หลังจากนั้นเด็กทุกคนในชั้นเรียนอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกัน การอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันช่วยกระตุ้นและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน และสามารถลดความรู้สึกประหม่าในตัวเด็กได้ การอ่านประสานเสียงสามารถดำเนินการในชั้นเรียนหรือกับเด็กกลุ่มเล็กๆได้ อีกทั้งนักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและสามารถระบุประเภทของเครื่องหมายวรรคตอนได้ เป้าหมายคือเพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานพร้อมๆกับฝึกประสบการณ์ในขณะเรียน

3.             ประเภทของโคลง
         แรชนา (Rachna.  2008  :  website) ได้จำแนกประเภทของโคลง ออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้
3.1          โคลงกระทู้ เป็นโคลงที่มีตัวอักษร ปกติจุดเริ่มต้นของแต่ละบรรทัด ตัวอักษร
เหล่านี้มีรูปแบบข้อความหรือคำ ที่จะต้องอ่านไปตามลำดับขั้น
3.2          เพลง ชนิดของโคลงนี้ เป็นโคลงบทสั้น เป็นการเล่าเรื่อง และสร้างขึ้นเป็น
บรรทัด 2-4 บรรทัด เฉพาะเพลงบัลลาดมักจะมีการละเว้น ในเพลงบัลลาดจะตรงไปตรงมาและไม่ค่อยมีรายละเอียดใด ๆ นอกเหนือจากนี้เพลงบัลลาดยังมีความเรียบง่ายของบังคับโคลงอีกด้วย
3.3      โคลงเกี่ยวกับการสอน ที่มีโคลงที่เขียนขึ้นเพื่อแนะนำให้รู้จักชั่วดี รวมถึงเป็น
โคลงที่เกี่ยวกับการสั่งสอนด้วยวาจาที่สุภาพ
3.4      โคลงเปล่า โคลงเปล่าที่เขียนในฉันท์ชนิดบรรทัดละห้าจังหวะ มีจังหวะเฉพาะ
ในฉันท์ มีแบบฟอร์มเพียงเล็กน้อย เช่นจังหวะของการพูด
3.5      ตลก โคลงชนิดนี้จะมีคนเป็นตัวหลัก โดยคนจะแสดงกริยาเลียนแบบธรรมชาติ
3.6      Cinquain  เป็นโคลงสั้น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในห้าบรรทัด พยางค์สอง สี่ หก
แปดและสองตามลำดับ
        
                    3.7 มหากาพย์ โคลงชนิดนี้มีความยาวและการเล่าเรื่องในลักษณะ การผจญภัยของวีรบุรุษ
                                3.8 Epics เป็นโคลงที่มักจะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของชาติ     
                                3.9 คำจารึกบนหลุมฝังศพ เป็นโคลงสั้น ๆ ที่มีจังหวะ เขียนไว้บนแผ่นศิลาหน้าสุสาน ในการสรรเสริญของคนตายจะถูกเรียกว่าคำจารึกบนหลุมฝังศพ
                          3.10 นิทาน เป็นโคลงที่มีลักษณะเป็นข้อความหรือร้อยแก้วที่มีคำสอนประกอบตอนท้ายของโคลง
                            
3.11 โคลงอิสระ เป็นโคลงประเภทที่ไม่ทำตามบังคับสัมผัส ทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ ไร้กฎเกณฑ์ในการแสดงออกทางความคิดและการเขียน
4.             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โคลง
         ฟินช์ (Finch.  1998  :  website) กล่าวไว้ว่า โคลงเป็นรูปแบบที่มีบทบาทส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบวกของเด็ก ฟินช์ ยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โคลงไว้ ดังนี้
                                  4.1ไวยากรณ์ ครูมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกโต้ตอบทางด้านการเรียนรู้ไวยากรณ์ โดยการออกแบบรูปแบบโคลงที่เน้นลักษณะเฉพาะของไวยากรณ์
                           
4.2 การตระหนักเกี่ยวกับวลีและโครงสร้างประโยค ครูสามารถเน้นความสนใจของนักเรียนในด้านโครงสร้างทางภาษาศาสตร์ และเชิญชวนนักเรียนแต่งโคลงโดยใช้โครงสร้างทางไวยากรณ์
                            4.3 ผลจากแม่แบบ นักเรียนสามารถเรียนรู้จากการสังเกต และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสภาพแวดล้อมทันที เช่นเดียวกับการเรียนรู้กลยุทธ์การเขียนจากการเขียนกับครู ตัวอย่างเช่น โครงสร้างมุ่งเน้นไปที่คำนาม กริยา วลี บุพบท โดยครูจะต้องมีการสนับสนุนให้นักเรียนสร้างองค์ประกอบที่สอดคล้องกัน
                            4.4 การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน เมื่อนักเรียนทำงานชิ้นเดียวกันเกี่ยวกับการเขียนร่วมกัน ครูเป็นผู้เสนอและแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน ตัวอย่างเช่น การส่งเสริมให้นักเรียนแต่งโคลงของตนเองโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไวยากรณ์ ในขณะที่นักเรียนทำงานกลุ่ม เด็กจะใช้วิธีการแก้ปัญหา ใช้ทักษะการแปลความหมาย และสามารถฝึกการตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับโคลง
                           4.5 การร่วมมือกัน ความร่วมมือเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนช่วยกันอ่านโคลง เด็กได้ร่วมมือกันทำงาน โคลงที่เด็กสร้างขึ้นเป็นประโยชน์มากในการส่งเสริมความเข้าใจของเนื้อหาการเรียนรู้
                            4.6 การให้คำแนะนำ ครูสามารถอธิบายรูปแบบโครงสร้างให้กับนักเรียน เด็กสามารถคิดออกแบบรูปแบบโคลงด้วยตนเอง ครูมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้เด็กมีคิดแก้ปัญหา
                            4.7 การรับรู้ถึงความรู้สึก การกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของนักเรียน (ภาพ เสียง วิดีโอคลิป ฯลฯ ) ช่วยให้เกิดกระบวนการการคิดสร้างสรรค์
         
                  4.8 การมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนสามารถแบ่งปันความรู้ที่มีเกี่ยวกับโคลงซึ่งกันและกันภายในห้องเรียนได้ในรูปแบบต่างๆ (แสดงการอ่านโคลง นิทรรศการ เทปคาสเซ็ท การ์ดอวยพร ปฏิทิน ฯลฯ )
         
                  4.9การแสดงความคิดเห็น นักเรียนสามารถใช้ภาษาเป้าหมายเพื่อแสดงความรู้สึกและความคิดที่ไม่จำกัด มีอิสระในการแสดงความเห็นกับรูปประโยค โคลงมักมีคำอุปมาอุปมัยเพื่อแสดงลักษณะส่วนบุคคล (อยากรู้อยากเห็น เสียง สถานที่ท่องเที่ยว ความเชื่อความต้องการ ความฝัน ฯลฯ ) นักเรียนจึงมีอิสระในการสำรวจวิสัยทัศน์ของตัวเอง
   5. การใช้โคลงในการสอนอ่าน
       ฟิชเชอร์ (Fisher.  2000  :  3)  กล่าวเกี่ยวกับการใช้โคลงในการสอนอ่านไว้ว่า โคลงเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถอดความทางภาษาในด้านการอ่าน เมื่อเด็กอ่านโคลงแล้วสามารถทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ ประโยชน์ของการใช้โคลงในห้องเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เน้นไปที่การอ่านออกเสียงของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ สิ่งที่สำคัญสำหรับการอ่านของเด็กๆ คือเน้นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยแสดงให้เห็นว่าเด็กจะได้พัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอ่านโคลง การอ่านออกเสียงจากโคลงเป็นเรื่องที่ดีมากในด้านการพัฒนาทักษะการอ่านจากแรกเริ่ม ซึ่งต่อมา เด็กสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้เร็วขึ้นและสามารถอ่านออกเสียงได้ดังฟังชัด โดยครูจะเป็นผู้คอยชี้แนะเด็กในเรื่องของการจำแนกความแตกต่างของคำศัพท์และการจำแนกเสียงที่แตกต่างกันของคำแต่ละคำ เมื่อครูเล่าเรื่อง เด็กๆจะนึกถึงสิ่งที่ครูเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งจินตนาการเป็นภาพออกมา ซึ่งหนังสือโคลงสำหรับเด็กจะมีอยู่หลายรูปแบบ อาจมีทั้งเนื้อหาประกอบภาพ และมีเพียงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่หนังสือโคลงไม่จำเป็นต้องมีภาพประกอบเพราะว่าเด็กจะสามารถอธิบายความหมายของโคลงนั้นๆและจินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นเอง โคลงเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาจากคำศัพท์ ไม่ใช่การนำภาพมาเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างภาพตามจินตนาการ เด็กจะได้ฝึกแปลความหมายจากคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยรูปภาพที่บอกเป็นนัยจากเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเด็กๆจะสนใจในโคลงพร้อมๆกับพยายามทำความเข้าใจในความหมายของโคลงนั้นๆ โดยสามารถนำโคลงมาใช้ในการสอนการอ่าน ยกตัวอย่างหลักการสอนการอ่านโคลง ดังนี้
1. เลือกโคลงที่ครูชอบหรือคิดว่าน่าสนใจให้กับนักเรียน
2. ครูนำเสนอโคลงบทนั้นๆ ด้วยความสนุกสนานและฟังแล้วนักเรียนรู้สึกตื่นเต้น
3. อ่านโคลงบทนั้นซ้ำๆ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงโคลงบทนั้นมากขึ้น
4. ดึงดูดนักเรียนโดยอาจจะร้องเป็นบทเพลงหรือใส่อารมณ์ท่าทางเข้าไปในคำพูด
ของโคลงบทนั้นๆ
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับโคลง และครูควรจัดกิจกรรมที่
น่าสนใจเกี่ยวกับโคลงให้กับนักเรียนเพื่อดึงดูดความสนใจ
                         นิวซัม (Newsome.  n.d.  :  website) มีวิธีการใช้โคลงในการสอนการอ่านดังนี้
1. ช่วงแรกเป็นเวลาสี่สัปดาห์ของการศึกษา (ระยะที่ควบคุม) ประกอบด้วยการเก็บ
รวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ในช่วงสัปดาห์ที่1-4 ซึ่งเป็นการสอนหนังสือแบบดั้งเดิม การอ่านถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เริ่มแรกครูจะเป็นผู้อ่านโคลงให้กับนักเรียนฟังก่อนในระหว่างการเรียนรู้ จะเริ่มต้นด้วยการสอนโดยแบ่งออกเป็นสามส่วนสำคัญดังนี้ การอ่าน การเข้าใจคำศัพท์ และภาษา นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการอ่าน โดยจะร่วมกันทำเป็นกลุ่มหรืออาจเป็นการอ่านแบบกลุ่มย่อย ซึ่งจะทำให้เกิด การเรียนรู้การสะกดคำและการถอดรหัสของคำ การสอนโคลงจะมีระดับที่แตกต่างกันออกไปในสี่สัปดาห์ ให้นักเรียนได้อ่านก่อนประมาณ 10 นาทีในแต่ละวันนอกเหนือไปจากโปรแกรมการเรียนการสอนพื้นฐาน ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูทำหน้าที่แทรกโคลงเข้าไปในการเรียนของเด็ก โดยการให้เด็กได้อ่านประสานเสียงกัน การสอนโคลงมีระดับที่แตกต่างกันออกไปในสี่สัปดาห์โดยมีกลยุทธ์การ ในการสอนแต่ละสัปดาห์ดังนี้
วันที่ 1 ครูเป็นแบบอย่างต้องมีความเข้าใจและสามารถอ่านโคลงได้อย่าง
คล่องแคล่วเกี่ยวกับฉันทลักษณ์ของโคลงในขณะที่นักเรียนฟัง จากนั้นทั้งชั้นอ่านพร้อมกัน
วันที่ 2 ครูอาจจะแบ่งนักเรียนออกเป็นชายและหญิง หรือกลุ่มย่อย และให้อ่าน
โคลงพร้อมกันภายในกลุ่ม
วันที่ 3 ครูผู้สอนแนะแนวทางนักเรียนในการที่จะนำไปสู่​​การอภิปรายโคลงในชั้น
เรียน และมีการอ่านโคลงพร้อมกัน
วันที่ 4 เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับความคล่องแคล่วในการเรียนรู้
ประกอบด้วยการอ่านประสานเสียงโคลงพร้อมกันทั้งชั้นเรียน ภายหลังจากที่ครูสอนคำศัพท์ที่น่าสนใจ
1.             ช่วงสอง เริ่มต้นวันที่ 5 ของการศึกษา จะเริ่มมีการใช้โคลงในการสอนมากขึ้น
โดยให้นักเรียนอ่านประสานเสียงกัน อ่านโคลงบทเดียวกันในแต่ละวันเป็นเวลาห้าวันติดต่อกัน โคลงจะถูกเขียนไว้บนกระดาษที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนในมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งในวันที่ 5 ครูจะเป็นผู้เสริมคำแนะนำในการอ่านประสานเสียง การอ่านโคลงซ้ำให้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะสามารถจดจำโคลง และสามารถสร้างภาพประกอบโคลงที่อ่านได้อีกด้วย

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.        งานวิจัยต่างประเทศ
                         นิวซัม (Newsome.  n.d.  :  Web Site ) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้โคลงในการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน และเพิ่มความคล่องแคล่วในการอ่านของนักเรียนระดับเกรดสาม จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้คือเพื่อให้นักเรียนระดับเกรดสาม ในโรงเรียนทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนนักเรียนทั้งหมด 76 คน มีความสามารถทางด้านทักษะการอ่านคล่องแคล่วของการอ่านออกเสียง และการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวิจัยศึกษาครั้งนี้ได้ใช้โคลงเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการอ่านของนักเรียน โคลงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้การอ่านเพื่อให้การอ่านของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งหนังสือโคลงที่มีภาพประกอบด้วยนั้นจะเหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้พบว่า โคลงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน และเพิ่มความคล่องแคล่วในการอ่านของนักเรียนระดับเกรดสามได้ นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่าโคลงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มขึ้นในการอ่าน ความคล่องแคล่วในการอ่าน การอ่านเพื่อความเข้าใจ และทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อโคลงอีกด้วย ซึ่งโคลงสามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจินตนาการและช่วยให้พวกเขาแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเต็มที่ และสามารถพัฒนาให้นักเรียนสามารถเขียนโคลงขึ้นเองได้
                         ฟินช์ (Finch.  1998  :  Web Site) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้โคลงในการสอนภาษาอังกฤษ กลุ่มนักเรียนในห้องเรียน EFL ในโรงเรียนระดับมัธยมต้น จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียน EFL ในระดับมัธยมต้นมีประสิทธิภาพทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น โดยฟินช์ได้เสนอวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการแสดงออกทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงในการเรียนการสอน อีกทั้งการอ่านโคลงจัดเป็นกิจกรรมวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ช่วยพัฒนารูปแบบทางด้านการแสดงออกทางภาษาของนักเรียนให้มีความสามารถในการรับรู้เรื่องการออกเสียงและการเรียงประโยคที่สละสลวย ซึ่งครูควรส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กด้วยการใช้โคลง และส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับโคลงและการตั้งสมมติฐานทางวัฒนธรรม ดังที่กล่าวไว้ว่าโคลงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านการอ่าน และการใช้โคลงในการอ่านในชั้นเรียนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน อีกทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งโคลงเป็นรูปแบบเรียบง่ายสำหรับการแสดงด้านกรอบความคิดที่ไม่มีขีดจำกัดของนักเรียนรวมถึงเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโคลงอันส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในห้องเรียน EFL ในโรงเรียนระดับมัธยมต้น และยังมุ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องการให้นักเรียนเป็นผู้ศึกษาหรือเรียนรู้โคลงด้วยตนเองอีกด้วย จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนในห้องเรียน EFL ในโรงเรียนระดับมัธยมต้นเกิดความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับโคลง มีการแสดงออกทางด้านการอ่านโคลงและมีการพัฒนาทางภาษาอังกฤษ สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการเรียนรู้โดยเรียนรู้จากโคลง อีกทั้งนักเรียนยังมีความสามารถในการรับรู้เรื่องการออกเสียงและประโยคที่สละสลวย
                         เชกเกอร์ส และ เกรกก์ (Sekeres and Gregg.  2007  :  Web Site) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการแนะนำทักษะและกลยุทธ์ของการอ่านโคลงอย่างมีประสิทธิภาพ จากการสำรวจนักเรียน 18 คนในชั้นเรียน เป็นนักเรียนระดับเกรดสาม จุดมุ่งหมายของการวิจัยศึกษาครั้งนี้คือต้องการที่จะให้นักเรียนได้เข้าถึงทักษะการอ่านมากขึ้นโดยใช้โคลงเข้าช่วยในการเรียนการสอน และเป็นการฝึกประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นทางด้านการแสดงออกเกี่ยวกับโคลง โดยการศึกษาครั้งนี้มีการเพิ่มโคลงเข้าไปในการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีความสนใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ และเรียนรู้แนวคิดในการนำเสนอโคลง นักเรียนจำเป็นจะต้องมีทักษะความรู้เกี่ยวกับโคลงและการเข้าถึงวัฒนธรรม โคลงสามารถแทรกได้ในหลักสูตรระดับประถมศึกษาของโรงเรียน ครูจะเป็นผู้นำนักเรียนไปสู่​​การได้เรียนรู้องค์ประกอบเกี่ยวกับโคลง ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้จากการอ่าน โดยการให้ความรู้เรื่องจังหวะของโคลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนทางด้านการอ่าน การเชื่อมโยงความรู้เพื่อความเข้าใจ และการปรับปรุงแก้ไขการใช้คำศัพท์ ช่วยให้เด็กมีการพัฒนาและเกิดความเข้าใจในแนวคิด มีผลต่อการกระตือรือร้นของนักเรียนสนใจในการอ่าน การอ่านดูไม่ใช่เรื่องยากเกินไปถ้าใช้สิ่งที่ท้าทายมาพัฒนาทักษะทางด้านภาษาของนักเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จากการสำรวจนักเรียน 18 คนในชั้นเรียน ผลปรากฏว่ามีนักเรียนในชั้นเรียน 13 คนมีความกระตือรือร้นที่จะอ่าน ส่วนนักเรียนอีก 5 คน มีความสามารถในด้านการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ ซึ่งเด็กมีการเรียนรู้ที่จะอ่านอย่างคล่องแคล่ว และยังสามารถให้ความหมายของโคลงได้ ผลที่ได้จึงเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
                         จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กล่าวมานั้น พบว่าการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงต่างๆ ทำให้ผู้เรียนพัฒนาประสิทธิภาพในการอ่านเพิ่มมากขึ้น  ผู้เรียนยังได้เรียนรู้การใช้ภาษาที่แท้จริงและมีความคุ้นเคยกับภาษาเป้าหมาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียน ผลจากการใช้โคลง ส่งผลที่ดีต่อการสอนภาษาอังกฤษทางด้าน ทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการที่จะพัฒนาไปสู่ทักษะต่างๆ และยังช่วยสร้างแรงจูงใจที่ดีในการเรียนภาษา ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาโคลงในการสอนทักษะการอ่าน ในระดับเกรด6 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเป้าหมายโดยที่เน้นผู้เรียนเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองในระดับสูงต่อไป  







บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย

                   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถทางด้านทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                         1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                         3. วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
                         4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
                         5. การวิเคราะห์ข้อมูล
                         6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

                   การวิจัยครั้งนี้ กลุ่มผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
                         1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                                ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 คน 2 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
                                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา
2554 จำนวน 34 คน 1 ห้องเรียน โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)
                         2. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
                                ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 4 เดือน เริ่มจาก เดือน พฤศจิกายน กุมภาพันธ์ 2555
                         3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
                                เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  กลุ่มผู้วิจัยพิจารณาจากหนังสือ  เอกสารประกอบการวิจัยและคู่มือการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2551 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


                                      3.1         Unit: Free Time
                                              Topic: Poems
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.2         Unit:  Weather
                                              Topic: Climate
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.3  Unit: Relationship with other people
                                              Topic: Special Day
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.4  Unit: Science and Technology
                                              Topic: Solar System
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   กลุ่มผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด  
                         1.  เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน ใช้เวลา แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง
                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ข้อสอบ มี 2 ชนิด คือ
                               2.1 ข้อสอบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียง เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติ
                                2.2 ข้อสอบทดสอบทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 40 ข้อ

การสร้างหาคุณภาพของเครื่องมือ

                   1.  การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังนี้
                         1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การอ่านภาษาอังกฤษ การสอนทักษะอ่านภาษาอังกฤษ โคลง และงานวิจัยต่างประเทศ
                         1.2 เลือกเนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และคำศัพท์ที่สอดคล้องกับ Unit: Free Time Topic: Poems, Unit:  Weather Topic: Climate, Unit: Relationship with other people Topic: Special day, Unit: Science and Technology Topic: Solar System
                         1.3 วิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาตาม Unit/Topic ที่กำหนดไว้ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
                         1.4 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน
                         1.5 นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของจุดประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรม และความครอบคลุมหลักสูตร
                         1.6 แก้ไข ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
                         1.7 นำแผนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุมเนื้อหา รูปแบบและหลักการอีกครั้งหนึ่ง
                         1.8 นำแผนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบ้านเชียงยืน จำนวน 34 คน ซึ่งมีความสามารถใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง
                         1.9 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง
                         1.10 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านเชียงยืน
                               2. แบบทดสอบทักษะการอ่าน
                         2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลทักษะการอ่าน
                         2.2 สร้างแบบทดสอบทักษะการอ่านที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยสร้างแบบทดสอบการอ่านออกเสียงแบบปฏิบัติ และแบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจแบบปรนัยจำนวน 40 ข้อ
                         2.3 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านที่กลุ่มผู้วิจัยสร้างขึ้น เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
                         2.4 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ ไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554   โรงเรียนบ้านเชียงยืน   อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 34 คน หลังจากทดลองแผนการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว และหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง
                         2.5 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านที่หาค่าความยากง่ายได้แล้ว นำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 34 คน ทั้งก่อนและหลังการทดลอง
การเก็บรวบรวมข้อมูล

                   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ กลุ่มผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยดังนี้
                         1. สอบก่อนเรียน (Pre-Test) กับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะการอ่านแบบปรนัย คำถามจำนวน 40 ข้อ และแบบทดสอบทักษะการอ่านภาคปฏิบัติ
                         2. ดำเนินการสอนตามแบบการเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 แผน
แผนละ 2 ชั่วโมง
                         3. สอบหลังเรียน (Post-Test) เพื่อทดสอบความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากผ่าน
การเรียนมาแล้ว

การวิเคราะห์ข้อมูล
                    
                   การศึกษาวิจัยครั้งนี้  กลุ่มผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล  โดยดำเนินการจัดกระทำกับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
                         1. เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
                         2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                         3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนในการใช้โคลง เพื่อพัฒนาความสามารถด้านทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                1.  ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
                         1.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สูตร ดังนี้
                        
                               เมื่อ                        แทน  ค่าเฉลี่ย
                                                     แทน    ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
                                            N                แทน    จำนวนคนในกลุ่ม


                         1.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้สูตร

                                      S.D.2        =    
                  
                                เมื่อ     S.D.    แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                            X         แทน    คะแนนแต่ละตัว
                            N         แทน    จำนวนคะแนนในกลุ่ม
                               แทน    ผลรวม

                   2.  สถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ
         การหาค่าสถิติในการหาคุณภาพของข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกเป็น
2 ชนิด ได้ดังนี้
                                2.1 ข้อสอบทดสอบการอ่านออกเสียง แบบทดสอบภาคปฏิบัติ
                                      2.1.1 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านตามเกณฑ์ 70/70 ใช้สูตร E1/E2
ดังนี้

                                                =         

                            เมื่อ            คือ ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษ
                                            คือ คะแนนรวมของแบบทดสอบทุกแบบฝึกของผู้เรียนคนที่ i
                                            A   คือ คะแนนเต็มของแบบทดสอบแต่ละแบบฝึกมารวมกัน
                                            N   คือ จำนวนผู้เรียน


 =

                                เมื่อ    คือ ประสิทธิภาพของผลการสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
                                            คือ คะแนนของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียนคนที่ i
                                            B  คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
                                            N  คือ จำนวนผู้เรียน

                                      2.1.2 เปรียบเทียบทักษะอ่านออกเสียงก่อนและหลังเรียนในการใช้โคลง โดยใช้
                         สูตร t – test  Dependent  

                                      t     =   

                                      t                 หมายถึง   ค่า T- test
                                      N               หมายถึง   จำนวนนักเรียนในกลุ่มทดลอง
                                             หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนแต่ละคน
                                          หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนยกกำลัง
                                        หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนทั้งหมดยกกำลัง

                                      2.1.3 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษภาคปฏิบัติ โดยใช้สูตร KR 20 ของ Kuder  Richardson
 

                                                               





  tt
 
                                                เมื่อ         r             แทน       ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
                                                                                แทน       จำนวนข้อของเครื่องมือวัด               
                                                                p              แทน       สัดส่วนของผู้ที่ตอบได้ในข้อหนึ่ง ๆ คือสัดส่วน
                                                                                                ของคนที่ตอบถูกกับคนทั้งหมด




2
 
                                                                q              แทน       สัดส่วนของคนตอบผิดในแต่ละข้อ คือ 1 - p




t
 
                                                               S           แทน คะแนนความแปรปรวนของเครื่องมือฉบับนั้น

                                2.2 ข้อสอบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบปรนัย
                                      2.2.1 ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย โดยใช้วิธีของ Brennam

                                     

                                เมื่อ     B         แทน   ค่าความยากง่ายของข้อสอบ
                            U          แทน   จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์
                            L          แทน   จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์
                            n1         แทน   จำนวนคนที่สอบผ่านเกณฑ์
                            n2         แทน   จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์
                       
                                      2.2.2 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบอิงเกณฑ์โดยใช้สูตรของแฮมเบิลตันและโนวิก ดังนี้

                                            P0   =   P11  +  P22

                                      เมื่อ      P0        แทน  ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

                                                  P11       แทน  สัดส่วนของผู้เรียนที่สอบผ่านก่อน-หลังเรียนกับ
                                                 จำนวนนักเรียนทั้งหมด
                                                  P22       แทน  สัดส่วนของผู้เรียนที่สอบผ่านก่อน-หลังเรียนกับ
                                                 จำนวนนักเรียนทั้งหมด

                                      2.2.3 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1 และ E2 ดังนี้       

สูตร 1                   

                                เมื่อ     E1         แทน    ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                แทน    คะแนนรวมของนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบระหว่างเรียน
                            A         แทน    คะแนนเต็มของแบบทดสอบระหว่างเรียน
                            N         แทน    จำนวนนักเรียน

สูตร 2             

                                เมื่อ     E2        แทน    ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                                แทน    คะแนนรวมของนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบหลังเรียน
                                            B         แทน    คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
                                            N         แทน    จำนวนนักเรียน

                                      2.2.4 การหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้สูตรของ กู๊ดแมน และ ชไนส์เดอร์

ดัชนีประสิทธิผล =   ผลรวมของคะแนนหลังเรียนทุกคน -   ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน                                           (จำนวนนักเรียน × คะแนนเต็ม)  - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน


บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้
โคลง  เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1
โรงเรียนเชียงยืน อ. เชียงยืน จ. มหาสารคาม จำนวน 1 ห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 8 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมง ผู้ศึกษาได้เสนอผลการวิเคราะห์ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
1.             สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
2.             ลำดับขั้นในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
3.             ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสื่อความหมายข้อมูล  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดความหมาย
ของสัญลักษณ์ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
                             N      แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง
                              แทน คะแนนเฉลี่ย
                           S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                           E.I.  แทน ดัชนีประสิทธิผลของการใช้โคลงเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
                           E 1    แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                           E   แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                        t      แทน ผลการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้โคลง








ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
                        ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  โดยใช้โคลง ตามเกณฑ์ 70 / 70
                      ตอนที่ 2 วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้
โคลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                      ตอนที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน                     ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านโดยใช้โคลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                ตอนที่ 1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โคลง ตามเกณฑ์ 70 / 70 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน โดยทำการทดสอบก่อนเรียน แล้วจึงให้นักเรียนเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 โดยใช้โคลง จำนวน 4 แผน ประเมินผลระหว่างเรียนจากการทำกิจกรรม และประเมินพฤติกรรมของนักเรียน แล้วทำการทดสอบหลังเรียน ต่อจากนั้นก็ทำการวิเคราะห์คะแนนเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ปรากฏผล ดังตาราง 1














ตาราง 1 ผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6



เลขที่


คะแนนก่อนเรียน
( 40)
คะแนนระหว่างเรียน
แผนที่ 1
แผนที่ 2
แผนที่ 3
แผนที่ 4
คะแนน
ระหว่างเรียน
( 60)
คะแนน
หลังเรียน
( 40)
  กิจกรรมที่1 บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 ตอบคำถามจากเนื้อหา(5)
กิจกรรมที่ 3 สรุปเนื้อหาคำศัพท์ (5)
  กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามจากเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่2เรียงลำดับและเขียนสรุปเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่3 แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)
  กิจกรรมที่ บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 วาดรูปตามเนื้อหา(5)

กิจกรรมที่ 3 วาดภาพ,แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)

กิจกรรมที่ บอกคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันได้ (5)

 กิจกรรมที่ 2 แต่งโคลง,วาดภาพสื่อความหมาย (5)

กิจกรรมที่ 3สร้างสิ่งประดิษฐ์,แสดงบทบาทสมมุติ(5)

1
17.5
2
3
2
4
4.5
3
2
2
4
3
5
4
38.5
23
2
      24.5
2
3
2
4.5
4.5
3
2
2
4
4
4
4
39
28.5
3
27.5
4
3
5
5
3.5
4
0.5
3
3
4
4
3
42
30
4
20
2
4
5
3
4.5
4
2.5
4
3
4
4
4
44
29.5
5
12.5
0.5
3
2
3
3.5
3
0.5
3
4
3
5
3
33.5
18.5
6
20
3
3
3
5
3.5
4
3
2
3
3
4
3
39.5
28
7
21
3
3
3
5
3.5
4
4
2
3
4
5
3
42.5
29
8
19
3
3
3
5
5
3
2.5
3
3
3
4
3
40.5
25
9
17.5
4
3
3
5
3.5
4
4
4
3
4
4
3
44.5
26
10
18
2
3
4
4.5
4.5
3
0.5
2
4
4
5
3
39.5
27
11
16
3.5
5
5
5
4.5
4
2.5
4
3
4
4
3
47.5
30
12
22.5
4
4
3
5
4.5
      5
4.5
3
3
3
4
3
46
กล่องข้อความ: 4427
ตาราง 1 (ต่อ)



เลขที่


คะแนนก่อนเรียน
( 40)
คะแนนระหว่างเรียน
แผนที่ 1
แผนที่ 2
แผนที่ 3
แผนที่ 4
คะแนน
ระหว่างเรียน
( 60)
คะแนน
หลังเรียน
( 40)
กิจกรรมที่1 บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 ตอบคำถามจากเนื้อหา(5)
กิจกรรมที่ 3 สรุปเนื้อหาคำศัพท์ (5)
กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามจากเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่2เรียงลำดับและเขียนสรุปเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่3 แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)
  กิจกรรมที่ บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 วาดรูปตามเนื้อหา(5)

กิจกรรมที่ 3 วาดภาพ,แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)

กิจกรรมที่ บอกคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันได้ (5)

กิจกรรมที่ 2 แต่งโคลง,วาดภาพสื่อความหมาย (5)

กิจกรรมที่ 3สร้างสิ่งประดิษฐ์,แสดงบทบาทสมมุติ(5)


13
24.5
1.5
4
3
5
4.5
3
4
2
3
4
4
4
42
33
14
18.5
1.5
3
2
5
3.5
4
4.5
3
3
3
5
4
41.5
28
15
12.5
2.5
4
5
5
4.5
4
3
4
3
4
4
3
46
28.5
16
21
3.5
3
2
4
3.5
3
2
3
4
3
5
3
39
26
17
22.5
1.5
3
3
4.5
3.5
4
1.5
4
3
3
5
3
39
26
18
18
4
3
5
5
4.5
3
3
3
3
4
4
3
44.5
29
19
31.5
4.5
3
3
5
5
4
2
4
3
5
4
3
45.5
34.5
20
30.5
4
3
3
5
5
3
4
4
3
5
4
3
46
35
21
25.5
3
3
3
5
5
4
3
4
4
3
4
4
45
26.5
22
30.5
4
3
3
5
5
4
4
3
3
5
4
4
47
35.5
23
26.5
5
4
3
5
5
4
4.5
4
3
5
4
4
50.5
กล่องข้อความ: 4528
ตาราง 1 (ต่อ)




คะแนนก่อนเรียน
( 40)
คะแนนระหว่างเรียน
แผนที่ 1
แผนที่ 2
แผนที่ 3
แผนที่ 4
คะแนน
ระหว่างเรียน
( 60)
คะแนนหลังเรียน
( 40)

เลขที่
กิจกรรมที่1 บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 ตอบคำถามจาก  เนื้อหา   (5)
กิจกรรมที่ 3 สรุปเนื้อหาคำศัพท์ (5)
กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามจากเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่2เรียงลำดับและเขียนสรุปเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่3 แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)
  กิจกรรมที่ บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 วาดรูปตามเนื้อหา(5)

กิจกรรมที่ 3 วาดภาพ,แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)

กิจกรรมที่ บอกคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันได้ (5)

กิจกรรมที่ 2 แต่งโคลง,วาดภาพสื่อความหมาย (5)

กิจกรรมที่ 3สร้างสิ่งประดิษฐ์,แสดงบทบาทสมมุติ(5)

24
16.5
1.5
4
3
5
5
3
     1
3
3
4
4
4
40.5
26.5
25
13
3
4
3
5
5
4
1
      4
3
4
4
4
44
20
26
25
3
4
3
4.5
5
3
4.5
4
3
4.5
4
4
46.5
29
27
12.5
0
4
3
5
5
4
1.5
5
4
3
4
4
42.5
16
28
33.5
5
4
3
5
5
4
4.5
4
3
5
4
4
50.5
34.5
29
28
2.5
4
3
4
5
3
4
5
4
5
4
4
47.5
35
30
14
2
3
3
4.5
5
4
2
3
3
4.5
4
4
42
19.5
31
24.5
3.5
4
3
    5
5
3
3
4
4
4
4
4
46.5
26
32
20
1.5
4
3
    5
5
4
2
4
3
4.5
4
4
44
20.5
33
26.5
4
3
3
4
5
4
3
4
4
3
4
4
45
กล่องข้อความ: 4626.5
ตาราง 1 (ต่อ)



เลขที่


คะแนนก่อนเรียน
( 40)
คะแนนระหว่างเรียน
แผนที่ 1
แผนที่ 2
แผนที่ 3
แผนที่ 4
คะแนนระหว่างเรียน
( 60)
คะแนน
หลังเรียน
( 40)
กิจกรรมที่1 บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 ตอบคำถามจากเนื้อหา  (5)
กิจกรรมที่ 3 สรุปเนื้อหาคำศัพท์ (5)
 กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามจากเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่2เรียงลำดับและเขียนสรุปเนื้อหา (5)
กิจกรรมที่3 แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)
  กิจกรรมที่ บอกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (5)
กิจกรรมที่2 วาดรูปตามเนื้อหา(5)

กิจกรรมที่ 3 วาดภาพ,แต่งโคลงขึ้นใหม่(5)

 กิจกรรมที่ บอกคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันได้ (5)

กิจกรรมที่ 2 แต่งโคลง,วาดภาพสื่อความหมาย (5)



กิจกรรมที่ 3สร้างสิ่งประดิษฐ์,แสดงบทบาทสมมุติ(5)

34
18
2.5
4
3
5
5
4
1.5
4
4
3
4
4
44
23.5
รวม
729
96.5
118
108
159.5
153.5
80
87.5
116
113
132.5
143
121
1,476
928.5
เฉลี่ย
21.44
2.83
3.47
3.17
4.69
4.51
2.35
2.57
3.41
3.32
3.89
4.20
3.55
43.41
27.30
S.D
11.18
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
15.91
12.61
ร้อยละ
35.73
E1/E2  
59.83
45.51

             จากตาราง1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.44 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 35.73  
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.18 คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนทั้ง 4 แผน เท่ากับ 43.41 จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 59.83 (E1) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.91 และจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 27.30 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.51 (E2)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.61
ตาราง   2  วิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ในระดับ
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ (70/70)
                  
จำนวน
คะแนนระหว่างเรียน
คะแนนหลังเรียน
E1/E2
คะแนนเต็ม
คะแนนรวม
คะแนนเต็ม
คะแนนรวม
34
60
1,476
40
928.5
59.83/45.51

                     จากตาราง  2 ปรากฏว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 59.83/45.51 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70

                                   ตอนที่ 2 วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โคลง โดยใช้แบบประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบก่อนเรียน เมื่อนักเรียนเรียนจบ 4 แผน แล้วทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกัน นำมาตรวจคะแนนแล้วหาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษปรากฏผลดังตาราง 3

ตาราง 3 ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษระดับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้โคลง

รายการคะแนน
จำนวนนักเรียน
คะแนนเต็ม
คะแนนรวม
คะแนนเฉลี่ย
ค่าดัชนีประสิทธิผลE.I.
หลังเรียน

ก่อนเรียน
34

     34
40

40
928.5

729
27.30

21.44

0.32

สี่เหลี่ยมมุมมน: 49                         จากตาราง 3 เมื่อวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้โคลง มีค่าเท่ากับ 0.32 หรือคิดเป็นร้อยละ 32 แสดงให้เห็นว่าแผนการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 32

ตอนที่ 3 วิเคราะห์หาผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่าน โดยใช้โคลง ปรากฏผลดังตาราง 4

ตาราง  4  เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่าน โดยใช้โคลง

จำนวนนักเรียน
S.D
t-test
P
ก่อนเรียน
หลังเรียน
ก่อนเรียน
หลังเรียน
5.82
.00*
34
21.44
27.30
11.18
12.61
             * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (เปิดตาราง t ที่ df = 33 , α = .05  ได้ t = 1.69  )

                           จากตาราง 4 ปรากฏว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่าน โดยใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นอย่าง   มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05









บทที่ 5

สรุป  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

                   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  เป็นการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 สรุปผลตามลำดับ ดังนี้
                         1.  ความมุ่งหมายของการวิจัย
                         2.  สรุปผลการวิจัย
                         3.  อภิปรายผล
                         4.  ข้อเสนอแนะ

ความมุ่งหมายของการวิจัย

                         1.  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โคลง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
                         2.  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                         3.  เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้โคลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สรุปผลการวิจัย

                   ผลการศึกษาค้นคว้าการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปรากฏผล ดังนี้
                         1.  การจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 59.83/45.51 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้
                         2.  ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.32 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังเรียน ร้อยละ 32
                         3.  ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 5.82 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนการสอบครั้งหลังสูงกว่า ครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สี่เหลี่ยมมุมมน: 51อภิปรายผลการวิจัย

                   จากผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประเด็นที่นำมาอภิปรายผลได้ ดังนี้
                         1.  ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมที่ใช้โคลง เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคะแนนสอบระหว่างเรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน คิดเป็นร้อยละ 59.83 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70 ตัวแรก ส่วนผลการสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียน คือ 70 ตัวหลังคิดเป็นร้อยละ 45.51
            เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนแล้วพบว่าในคะแนนเฉลี่ยร้อยละในระหว่างเรียนนั้นมีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่  70/70  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรูปแบบการจัดกิจกรรมของผู้สอนนั้นเป็นกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่คุ้นเคย  จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ  อีกทั้งผู้เรียนยังเกิดความวิตกกังวลกับโครงสร้างไวยากรณ์และไม่เข้าใจกิจกรรมที่ใช้โคลงเป็นหลัก  ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษและไม่เกิดจินตนาการในขณะเขียน ทำให้ทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ถึงเกณฑ์แต่ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนก็ถือว่าสูง  คือ 45.51 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้สอนได้ใช้โคลงเพื่อจัดกิจกรรมการสอนและตัวอย่างการอ่านโคลงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการและเกิดความเข้าใจในขณะอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของฟิชเชอร์ (Fisher.  2000  :  3) ได้กล่าวไว้ว่า การใช้โคลงในห้องเรียน ภาษาอังกฤษนั้นจะเน้นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอ่านโคลง ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้เร็วขึ้นและสามารถอ่านออกเสียงได้ดังฟังชัด ผู้เรียนสามารถจินตนาการเป็นภาพออกมาจากเนื้อเรื่องของโคลงและเกิดความเข้าใจในขณะอ่านโคลง ซึ่งโคลงเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาจากคำศัพท์ ไม่ใช่การนำภาพมาเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างภาพตามจินตนาการ ผู้เรียนจะได้ฝึกแปลความหมายจากคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยรูปภาพที่บอกเป็นนัยจากเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้เรียนจะสนใจในโคลงพร้อมๆกับพยายามทำความเข้าใจในความหมายของโคลงนั้นๆ
                         2.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน-หลังเรียนพบว่า ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวมีค่า  0.32 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  หลังจากการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง แล้วนักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ  32  เนื่องจากการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องอ่านออกเสียงและอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับความหมายของโคลง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และเกิดความเข้าใจในภาษามากขึ้น มีเจตคติที่ดีและเกิดแรงกระตุ้นในการอ่าน ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยโคลงใหม่ๆให้กับเพื่อนในห้องได้ศึกษาร่วมกันได้อย่างสนุกสนาน นอกจากนั้นรูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของผู้สอน เน้นการอ่านออกเสียงและอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการวิจัยของ เคเลน (Karen.  2001  :  Web Site ) ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า โคลงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน และเพิ่มความคล่องแคล่วในการอ่านของนักเรียนได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าโคลงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มขึ้นในการอ่าน ความคล่องแคล่วในการอ่าน การอ่านเพื่อความเข้าใจ และทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อโคลงอีกด้วย ซึ่งโคลงสามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจินตนาการและช่วยให้พวกเขาแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเต็มที่ และสามารถพัฒนาให้นักเรียนสามารถเขียนโคลงขึ้นเองได้ และการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของผู้สอนได้สอดคล้องกับแนวคิดของ โฮล์มส์ (Holmes.  2001  :  website) กล่าวไว้ว่า โคลงเป็นรูปแบบที่มีบทบาทส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบวกของเด็ก โฮล์มส์ และ มอลทัน ยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โคลงไว้ว่า ความร่วมมือเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนช่วยกันอ่านโคลง ผู้เรียนได้ร่วมมือกันทำงาน โคลงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นเป็นประโยชน์มากในการส่งเสริมความเข้าใจของเนื้อหาการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถแบ่งปันความรู้ที่มีเกี่ยวกับโคลงซึ่งกันและกันภายในห้องเรียนได้ในรูปแบบต่างๆ
สี่เหลี่ยมมุมมน: 52 

ข้อเสนอแนะ
                   1.  ข้อเสนอแนะทั่วไป
         1.1 ครูควรสำรวจความต้องการและความสนใจประเภทของโคลง ที่นักเรียนสนใจก่อนที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ
         1.2 ครูควรเตรียมสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมมากขึ้น ขณะทำการเรียนการสอนผู้สอนควรใช้กลวิธีการสอนการอ่านโคลงที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น และผู้สอนควรใช้สื่อการสอนการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยโคลงที่เรียกความสนใจของนักเรียน
         1.3 ในระหว่างการเรียนการสอน ครูควรอธิบายการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ชัดเจนถึงขั้นตอนการทำกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจก่อนเพื่อช่วยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง และมีเจตคติที่ดีต่อโคลง
                         1.4 ครูควรคำนึงถึงกิจกรรมเดี่ยวให้มากโดยเฉพาะการอ่านออกเสียงโคลงภาษาอังกฤษ เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ใช้นั้นจะเป็นกิจกรรมกลุ่มจึงทำให้ผู้เรียนบางคนไม่สนใจหรืออ่านไม่ได้ ถ้ามีกิจกรรมรายบุคคลเข้ามาด้วยนั้นจะทำให้ผู้สอนสามารถประเมินได้ง่ายขึ้นและทราบได้ว่าผู้เรียนคนใดที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโคลง ดังนั้นกิจกรรมการอ่านออกเสียงโคลงภาษาอังกฤษควรให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคลเพื่อจะได้ทราบถึงพัฒนาการทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนแต่ละคนมากยิ่งขึ้น
สี่เหลี่ยมมุมมน: 53                         1.5 ครูควรให้เวลาในการอ่านโคลงอย่างเหมาะสม ไม่เร่งรีบจนเกินไปเพราะ การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง เป็นกิจกรรมที่ครูควรให้เวลาผู้เรียนพอสมควร ผู้เรียนจึงจะไม่เกิดความเครียด และเกิดเจตคติที่ดีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ
                         1.6 ครูควรเพิ่มเวลาในการวิจัยเป็น 1 ภาค เพราะการวิจัยเพียงระยะสั้นไม่สามารถทำให้เห็นพัฒนาการทางการอ่านภาษาอังกฤษได้ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

                   2.  ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
                         2.1 ควรศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้โคลง เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษในระดับชั้นอื่นๆ และงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษที่กว้างยิ่งขึ้น
                         2.2 ควรใช้เทคนิควิธีการสอนต่างๆ และกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โคลงไปทดลองใช้กับการพัฒนาทักษะด้านอื่น เช่น การแต่งบทละครโดยใช้โคลงด้วยจินตนาการขั้นสูง แล้วนำมาสู่การพัฒนาในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
                         2.3 ควรมีการพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยนี้ให้เป็นการอ่านนวนิยายหรือบทละครโดยใช้โคลง เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความคิดในทางที่แปลกใหม่และเพิ่มความท้าทายในการทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำเอานวนิยายหรือบทละครโคลงที่ได้ไปใช้ในกิจกรรมอื่นภายนอกห้องเรียนได้อีกด้วย

No comments:

Post a Comment